Page 12 -
P. 12

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     11



                       ได้เพื่อความสะดวกในการปกครอง นอกจากนั้นต้องเป็นอิสระปราศจากการควบคุมของรัฐอื่น ๆ ใน
                       การที่จะดําเนินการบริหารหรือกําหนดนโยบาย


                              อย่างไรก็ตาม รัฐทุกรัฐจะมีรัฐบาลเป็นศูนย์รวมอํานาจและเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจรัฐในการ
                       ทําหน้าที่หลัก 3 ด้าน คือ

                              1. การรักษาความมั่นคง

                              2. การดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการให้ความยุติธรรม

                              3. การให้สวัสดิการทางสังคม


                       รูปแบบของรัฐ


                              ระบอบการปกครอง


                              พฤทธิสาณ ชุมพล (2540)  ได้สรุปรูปแบบการปกครองเอาไว้ 2 ระบอบใหญ่ ๆ คือ การ

                       ปกครองระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย ดังนี้

                              1. การปกครองระบอบเผด็จการ  อํานาจในการสร้างและกําหนดนโยบาย มีลักษณะรวม

                       ศูนย์อยู่ที่บุคคล คณะทหาร ข้าราชการ หรือผู้นําพรรค มี 2 แบบย่อย ได้แก่
                                 1) เผด็จการแบบอํานาจนิยม (Authoritarian)  อํานาจการตัดสินใจอยู่ที่ผู้ปกครองเพียง

                       คนเดียว เช่น พระมหากษัตริย์

                                 2) เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarian) อํานาจอยู่ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวหรือกลุ่ม

                       เดียว เช่น พรรคคอมมิวนิสต์ของจีน เกาหลีเหนือ สหภาพโซเวียตเดิม เผด็จการทหารในพม่า

                              2. การปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทั้ง

                       การพูด การเขียน การร้องเรียน การชุมนุม ตลอดจนการได้รับความคุ้มครองในความยุติธรรมจากศาล

                       แบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย ได้แก่
                                 1) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary  Democracies)  ฝ่ายบริหารได้รับการ

                       เลือกให้ดํารงตําแหน่งจากฝ่ายรัฐสภา ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายรัฐสภามีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย

                       โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ไทย
                       หรืออาจมีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น สิงคโปร์

                                 2) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Democratic Presidential) ฝ่ายบริหารได้รับการ

                       เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง มีอํานาจในการกําหนดนโยบาย เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์
                       อินโดนีเซีย
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17