Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     14



                       สามารถใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาด รูปแบบรัฐบาลจึงเป็นรัฐบาลผสมที่มีผลประโยชน์ต่างตอบแทน
                       ร่วมกันลงตัวแบบไทย ๆ ที่เรียกว่า “ไม่มีศัตรูหรือมิตรแท้ทางการเมือง”


                              รัฐแบบทุนนิยม

                              ก่อนที่ลัทธิทุนนิยมจะเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศอิตาลี สังคมยุโรปผ่านการดําเนินชีวิต

                       แบบคอมมิวนิสต์ที่ทุกคนแบ่งสรรกันใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน มาเป็นสังคมทาสที่มีนายทาสเป็น

                       ผู้ควบคุมการผลิตอย่างเข้มงวด และมาเป็นสังคมแบบเจ้าขุนมูลนายหรือฟิวดัล (Feudal)  โดยเจ้าผู้
                       ครองนครเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด แล้วจัดสรรให้กับข้าทาสบริวารทําการเพาะปลูกบนที่ดินตามที่

                       กําหนด ผลผลิตจะส่งให้แก่เจ้าของที่ดินหรือเจ้าผู้ครองนคร จนกระทั่งในคริสศตวรรษที่ 16  ข้าทาส

                       บริวารไม่ยอมอยู่ใต้อํานาจเจ้าของที่ดินอีกต่อไป พวกชาวนาต่างอพยพเข้าไปทํางานในเมือง เพื่อ

                       ประกอบอาชีพหัตถกรรมและอุตสาหกรรม มีการซื้อขายสินค้าด้วยเงินตราแทนการแลกเปลี่ยนสินค้า
                       เช่นในอดีต การค้าขายได้ทวีจํานวนและมูลค่ามากขึ้น ทําให้คนในยุโรปเริ่มคํานึงถึงผลกําไรและการ

                       สะสมทุนที่ถือว่าเป็นรากฐานสําคัญของลัทธิทุนนิยม ต่อมาได้ขยายตัวไปยังบริเวณอื่น ๆ ของทวีปด้วย

                       การใช้เงินทุนไปลงทุนในกิจการต่าง ๆ เพื่อให้มีการสะสมทุนเพิ่มมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทําให้เกิดลัทธิ
                       ทุนนิยมและมีวิถีการผลิตแบบทุนนิยมในที่สุด ในระยะต่อมาศูนย์กลางของทุนนิยมได้ย้ายไปอยู่ที่

                       ยุโรปตะวันตกโดยมีอังกฤษเป็นผู้นํา และอังกฤษได้เข้าครอบครองส่วนต่าง ๆ ของโลก มีการนําเอาวิถี

                       การผลิตแบบทุนนิยมไปไว้ในอาณานิคม ทําให้ลัทธิทุนนิยมขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว จนเลนิน (Lenin)
                       ชาวโซเวียต ได้กล่าวในตอนปลายคริสศตวรรษที่ 19 ว่าลัทธิทุนนิยมได้บรรลุถึงขั้นสูงสุดและกลายเป็น

                       ลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งประกอบด้วยการผูกขาด 4  ประการ คือ ประการที่หนึ่ง การผูกขาดการผลิต

                       โดยความสามารถในการผลิตสูงสุดอยู่ในยุโรปตะวันตก ประการที่สอง มีการยึดและฉกฉวยเอาวัตถุดิบ

                       จากดินแดนด้อยพัฒนาทั่วโลกด้วยการยึดครองเป็นอาณานิคม ประการที่สาม มีการผูกขาดทางด้าน
                       การเงิน โดยธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ และประการที่สี่ เกิดลัทธิล่าอาณานิคมขึ้นเพื่อขยาย

                       ตลาดให้แก่สินค้าและอุตสาหกรรม (ดํารงค์ ฐานดี, 2538)


                              ดํารงค์ ฐานดี (2538) ได้กล่าวถึงนักวิชาการที่สนใจศึกษารัฐในระบบทุนนิยม มี 2 กลุ่ม คือ
                              1.  กลุ่มพหุนิยม (Pluralism)  นักวิชาการกลุ่มนี้ ได้แก่ จอห์น ล๊อค เขาเชื่อว่า รัฐในระบบ

                       ทุนนิยม หมายถึง สถาบันที่เป็นกลางซึ่งให้ความเป็นธรรมแก่สมาชิกของสังคมทุกกลุ่มทุกเหล่า

                       สถาบันที่เรียกว่ารัฐนี้จะธํารงอํานาจ 3  ประการ ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ อํานาจ
                       ดังกล่าวเป็นกลไกสําคัญที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือชี้นําให้สมาชิกปฏิบัติตาม นั่นคือ สิทธิและหน้าที่ของ

                       ความเป็นพลเมือง โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า สมาชิกของทุกสังคมมีสิทธิเสรีภาพและอํานาจทางการ

                       เมืองเท่าเทียมกัน ด้วยการเลือกผู้แทนจากพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบและมีอุดมการณ์ทางการเมือง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20