Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     15



                       ตรงกันไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐสภา ซึ่งพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะรณรงค์ให้ประชาชนเลือกสมาชิก
                       พรรคของตนให้มากที่สุด เพื่อจะได้คุมเสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศตาม

                       นโยบายของพรรค นักวิชาการกลุ่มนี้จึงมีทัศนะว่า รัฐกับรัฐบาลคือสิ่งเดียวกัน รัฐบาลเป็นสถาบันที่

                       เป็นกลางและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน รัฐหรือรัฐบาล จะมีอิสระหรือ
                       อํานาจในตัวเองที่คอยปกป้องและพิทักษ์ผลประโยชน์ให้แก่คนทั้งประเทศ เพราะรัฐเป็นตัวแทนของ

                       ประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง


                              2.  กลุ่มวิพากษ์ (Critical  Perspective)  นักวิชาการกลุ่มนี้ ได้แก่ เฮเกล (Hegel)  คาร์ล
                       มาร์กซ์ (Karl  Marx) เขาได้กล่าวว่า รัฐ หมายถึง เวทีของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นที่จะเข้าไปควบคุม

                       อํานาจของรัฐและใช้อํานาจให้เกิดประโยชน์แก่ชนชั้นของตนให้มากที่สุด พวกเขาได้วิจารณ์ว่าชนชั้นที่

                       เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือพวกชนชั้นนายทุนมักจะมีอํานาจทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
                       สมาชิกชนชั้นสูงจะกุมอํานาจทางการเมืองไว้ตลอดเวลา ส่วนชนชั้นต่ําจะเป็นเพียงผู้ขายแรงงานเพื่อ

                       เลี้ยงชีพไปวันหนึ่ง ๆ และจะถูกบังคับให้ไปใช้สิทธิ์เลือกคนชนชั้นสูงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทําหน้าที่ปกครอง

                       ประเทศ ซึ่งพวกชนชั้นสูงมักจะต้องการผูกขาดอํานาจและใช้อํานาจเพื่อการสะสมทุนให้มากยิ่งขึ้น

                       ดังนั้นนักวิชาการนี้จึงสรุปว่า รัฐมีความหมายกว้างกว่าคําว่า รัฐบาล รัฐเป็นเสมือนเวทีของการต่อสู้
                       ระหว่างชนชั้นเพื่อแย่งชิงอํานาจของรัฐไว้ในความครอบครอง โดยรัฐประกอบด้วยองค์กรทางการ

                       เมือง เช่น รัฐสภา พรรคการเมือง มีกฎหมายและกฎเกณฑ์  ส่วนนักวิชาการกลุ่มวิพากษ์รุ่นใหม่ เช่น

                       พอล สวีชี (Paul Sweezy) ราฟ มิลิแบนด์ (Ralph Miliband) ได้กล่าวเสริมอีกว่า รัฐเป็นเครื่องมือ
                       ของอํานาจ โดยชนชั้นสูงได้รวบอํานาจของรัฐไว้ในมือและใช้อํานาจนั้นเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชนชั้น

                       ของตน


                              แนวคิดของกลุ่มพหุนิยมในความคิดของผู้เขียนนั้น ยังดูเหมือนจะเป็นอุดมคติสําหรับการ
                       เมืองไทย นักการเมืองไทยและพรรคการเมืองยังขาดจุดยืนและอุดมการณ์ที่ชัดเจน นโยบายก็มักจะมี

                       ลักษณะที่เรียกว่า ประชานิยม ส่วนแนวคิดของกลุ่มวิพากษ์ดูเหมือนจะตรงมากกว่า ซึ่งนักการเมือง

                       พยายามจะใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ของตนมากกว่าของรัฐ มีข้อสังเกตว่าถึงแม้ว่าจะมีวัยวุฒิมาก
                       (แก่) แต่ก็ยังต้องการที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐมนตรีอยู่ เพราะอะไร อาจเข้าทํานอง

                       ที่ว่า ขึ้นหลังเสือแล้วลงไม่ได้นั่นเอง การเมืองไทยต้องการคนที่เสียสละทุ่มเท ดังนั้นจึงควรมีร่างกายที่

                       แข็งแรง ไม่แพ้เรื่องการมีความรู้ความสามารถ มีการศึกษาที่ดี มีสติปัญญาและมีมันสมองมาบริหาร

                       ประเทศ

                              นอกจากนี้ ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2535)  ยังได้กล่าวถึงเรื่องการขยายตัวของรัฐทุนนิยม  มี

                       ลักษณะที่สําคัญ 5 ด้าน คือ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21