Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
18
พึ่งพาว่า “รัฐข้าราชการ” ที่สร้างกลไก เพื่อให้สมาชิกของชนชั้นนี้เกาะกลุ่มกันได้อย่างเหนียวแน่น
โดยนําเอาระบบราชการจากตะวันตกมาใช้ อาทิ การคัดเลือกคนเข้าทํางาน การรวบอํานาจเข้าสู่
ส่วนกลาง การสั่งงานจากเบื้องบน เป็นต้น ผนวกกับค่านิยมเจ้าขุนมูลนายที่อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์
ทางสังคมที่ยึดถือความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก ทําให้ระบบราชการที่นํามาใช้กลายเป็นการสร้างกลุ่ม
อภิสิทธิ์ขึ้นมา การเล่นพรรคเล่นพวก และการคอรัปชั่น
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่ารัฐไทยเป็น “รัฐข้าราชการ” ดังคํากล่าวในอดีตที่ว่า “สิบพ่อค้าไม่เท่า
หนึ่งพญาเลี้ยง” อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันคงใช้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุน้อย
มากเมื่อเทียบกับภาคเอกชนหรือพ่อค้า แต่ลักษณะสังคมไทยยังคงเป็นจริงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเจ้า
ขุนมูลนาย ระบบอุปถัมภ์ การเล่นพรรคเล่นพวก การคอรัปชั่น รวมทั้งความด้อยประสิทธิภาพในการ
ทํางานของข้าราชการ หรือที่เรามักได้ยินกัน คือ “เช้าชามเย็นชาม” ส่งผลให้การพัฒนาประเทศ
เป็นไปได้อย่างล่าช้า ในขณะที่รัฐแบบทุนนิยมพึ่งพามียุทธวิธีการพัฒนา ดังนี้ (ดํารงค์ ฐานดี, 2538)
1. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นโดยการส่งผ่านจากประเทศที่พัฒนาแล้ว มี
องค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความสนใจ เช่น องค์กรพัฒนาการเกษตร สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ
องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เป็นต้น
2. การให้ผู้ประกอบการหรือชาวนาหัวก้าวหน้า นําความรู้เทคนิคการเพิ่มผลผลิตสมัยใหม่ไป
เผยแพร่ให้เพื่อนบ้าน อาจเรียกว่า การกระจายเทคนิคการผลิต โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่าง
จริงจังกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและเกษตรกรชั้นนําในการลงทุนและการช่วยเหลือทุกด้าน เช่น
การอบรมสัมมนา การให้สินเชื่อและปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์พืช
นอกจากนั้น นโยบายในการพัฒนาของรัฐแบบทุนนิยมพึ่งพา จะต้อง
1. พึ่งพาทั้งเงินกู้และความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาประเทศจากรัฐศูนย์กลางอยู่ตลอดเวลา
และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. พึ่งพาเทคนิควิทยาการ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า ต้องสั่งซื้อเครื่องจักรด้วยราคาแพง
ค่าลิขสิทธิ์ ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเป็นจํานวนเงินมหาศาล ซึ่งเครื่องจักรกลก็ต้องมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่เสมอ รัฐทุนนิยมพึ่งพาจึงตกเป็นเบี้ยล่างของประเทศที่เจริญแล้ว
3. พึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการส่งผ่านความรู้และเทคนิควิทยาการในการ
ผลิต