Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     13



                                 5)  ระบบหลายพรรคที่ไม่เชื่อมโยงกัน มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่มีวัฒนธรรมทาง
                       การเมืองแตกเป็นเสี่ยง ๆ ประชาชนมีหลายเผ่าพันธุ์ มีความแตกต่างในชีวิตอยู่มาก ซึ่งไม่เอื้อให้การ

                       ปกครองมีเสถียรภาพได้ มักเกิดขึ้นในประเทศกําลังพัฒนาที่ไม่ถูกปกครองด้วยระบบเผด็จการทหาร

                              ในส่วนของประเทศไทยนั้น ระบบพรรคการเมืองภายหลังที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

                       จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย ในช่วงแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

                       ไม่มีพรรคการเมือง การแข่งขันทางการเมืองเป็นไประหว่างกลุ่มบุคคลในคณะราษฎร์ จนในที่สุดกลุ่ม

                       ทหารมีอิทธิพลเหนือกลุ่มพลเรือน การปกครองส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการปกครองแบบเผด็จการ
                       เพราะมีการปฏิวัติหรือรัฐประหารบ่อยครั้ง โดยมีข้าราชการทหารเป็นแกนนําทั้งรัฐมนตรีและสมาชิก

                       รัฐสภา อาจเรียกว่า รัฐข้าราชการหรืออํามาตยาธิปไตย (Bureaucratic  Polity)  กองทัพหรือทหาร

                       อาศัยทรัพยากรทางอาวุธยุทโธปกรณ์และการบังคับเป็นฐานอํานาจในการเข้าปกครองประเทศ
                       ลักษณะการจัดองค์กรมีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาตามลําดับชั้นอย่างเคร่งครัด เป็นการออกคําสั่ง

                       จากระดับสูงสู่ระดับล่าง โดยการขู่บังคับว่าจะลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นองค์กรที่ไม่เหมาะแก่

                       การกลั่นกรองผลประโยชน์ของกลุ่มชนสําคัญ ๆ ให้รวมพลังมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจได้  ในช่วงหลัง

                       สงครามโลกครั้งที่ 2  กลุ่มทหารลดบทบาทลงตามสถานการณ์ พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นในช่วงนี้ จึง
                       เป็นระบบหลายพรรคที่มีลักษณะของการสนับสนุนตัวบุคคลมากกว่าที่จะสนับสนุนจากมวลชน ต่อมา

                       กลุ่มทหารนําโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ตั้งพรรคการเมืองและเข้ามาบริหารประเทศ แต่ได้ถูก

                       จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทําการรัฐประหารและดําเนินการปกครองในแบบเผด็จการ ยกเลิกและห้าม
                       การเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง ครั้นถึงสมัยรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร ในเดือน

                       ตุลาคม พ.ศ.2514 ได้มีการเดินขบวนประท้วงของมวลชนนําโดยนิสิตนักศึกษา การตั้งพรรคการเมือง

                       หลังเหตุการณ์ในช่วงนี้จึงเป็นระบบหลายพรรคแบบสุดโด่งที่มีความแตกต่างในอุดมการณ์ซึ่งยากที่จะ
                       ติดต่อสัมพันธ์ประสานกันได้ จึงเป็นเหตุให้กลุ่มทหารยึดอํานาจอีกครั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ.2519

                       ระบบพรรคการเมืองหลังจากเหตุการณ์นี้จนถึงก่อนการปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2540 จึงเป็นระบบหลาย

                       พรรคที่มีแนวนโยบายกลาง ๆ และไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลจึงต้อง

                       เป็นรัฐบาลผสม (พฤทธิสาณ ชุมพล, 2540) จนกระทั่งการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548
                       ผลปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยของพันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้คะแนนเสียงมากที่สุด สามารถ

                       จัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว นับว่าเป็นครั้งแรกในระบบการเมืองไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการ

                       ปกครอง ซึ่งหากมีแนวโน้มในลักษณะเช่นนี้ ผู้เขียนคิดว่าอาจเป็นระบบพรรคการเมืองแบบพรรคหลัก

                       ครอบงําที่มีความเป็นอํานาจนิยมสูง โดยที่พรรคการเมืองอื่นไม่สามารถท้าทายอํานาจในการปกครอง
                       ได้  ซึ่งก็เป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ท้ายที่สุดรัฐบาลก็ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 9 กันยายน

                       พ.ศ.2549 ระบบหลายพรรคยังคงเป็นแบบหลายพรรคที่มีอุดมการณ์เป็นกลาง ๆ ไม่มีพรรคใด
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19