Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     9



                              ชิเซโร กล่าวว่า รัฐเป็นประชาคมทางจิตใจ ทุกคนเป็นเจ้าของรัฐโดยเท่าเทียมกันและอยู่
                       ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เขาเรียกรัฐว่า เร โปพูลิ (Res  Populi)  ซึ่งหมายความว่า กิจการของ

                       ประชาชน เพื่อเน้นว่า รัฐเป็นสมบัติร่วมกันของทุกคน สมาชิกที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้นได้รับผลประโยชน์

                       จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรัฐที่ดีจะต้องให้มีรัฐบาลที่ยุติธรรม

                              ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้รวบรวมความหมายของคําว่ารัฐ โดยที่สํานักมาร์กซ์ซิสต์ (Marxism)

                       เห็นว่า รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามใจชอบ  โรเจอร์ เบนจามิน

                       (Roger Benjamin) และเรมอนด์ ดูวอล (Raymond Duwall) ให้ความหมายของรัฐไว้ 4 แนว คือ
                              1. รัฐในฐานะที่เป็นรัฐบาล หมายความถึง กลุ่มบุคคลที่ดํารงตําแหน่งที่มีอํานาจในการตัดสินใจ

                       ในสังคมการเมือง

                              2.   รัฐในฐานะที่เป็นระบบราชการหรือเครื่องมือทางการบริหารที่เป็นปึกแผ่น และเป็น
                       ระเบียบทางกฎหมายที่มีความเป็นสถาบัน

                              3. รัฐในฐานะที่เป็นชนชั้นปกครอง

                              4. รัฐในฐานะที่เป็นโครงสร้างทางอุดมการณ์

                              เจ พี เน็ตเทิล (J.P.Nettle) กล่าวว่า

                              1. รัฐ หมายถึง องค์กรที่รวมศูนย์การทําหน้าที่และโครงสร้างไว้เพื่อที่จะปฏิบัติการได้อย่าง

                       ทั่วด้าน เป็นแนวคิดดั้งเดิมที่เน้นเรื่องอํานาจอธิปไตยและรัฐอธิปไตย กล่าวคือ รัฐมีฐานะสูงกว่า
                       องค์กรอื่น ๆ ในสังคม อํานาจของรัฐเป็นอํานาจตามกฎหมาย แนวคิดนี้จึงเชื่อมโยงรัฐกับกฎหมาย

                       ระบบราชการ และรัฐบาล

                              2. รัฐในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐมีอิสระใน

                       การดําเนินกิจการต่าง ๆ กับรัฐอื่น ๆ ซึ่งหากรัฐมีอิสระในการดําเนินกิจการระหว่างประเทศสูงก็จะมี
                       ความเป็นรัฐ (Stateness) สูง

                              3.    รัฐในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีลักษณะเด่น

                       เฉพาะตัว
                              4. รัฐในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม-วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีวิวัฒนาการ ซึ่งคิดว่ารัฐ

                       กับชาติเป็นเรื่องเดียวกัน


                              นิคอส พอลเลนซัส (Nicos Poulantzas) เห็นว่า รัฐ เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมแบบชนชั้น
                       และกระบวนการใช้อํานาจผ่านทางสถาบันต่าง ๆ เช่น รัฐบาล ศาล และตํารวจ


                              เฟรนซ์ ออฟเฟนไฮเมอร์ (Franz  Oppenheimer)  มีความเห็นว่า รัฐ เป็นองค์กรของการใช้
                       วิธีการทางการเมืองซึ่งพัฒนาขึ้นเมื่อวิธีการทางเศรษฐกิจได้สร้างสิ่งของขึ้นมามากพอสําหรับสนอง
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15