Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี











                                                                                               บทที่ 1

                                                                                        แนวคิดเกี่ยวกับรัฐ


                       พัฒนาการและแนวคิด



                              การปกครองที่มีลักษณะเรียกว่า นครรัฐ เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรีกโบราณ ก่อนคริสต
                       ศักราชประมาณ 300  –  500  ปี เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า นครรัฐที่ได้รับการยกย่องว่ายิ่งใหญ่ คือ

                       เอเธนส์ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและการศึกษาของโลกในยุคโบราณ เป็นแหล่งกําเนิด

                       ของนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเฉพาะทางด้านรัฐศาสตร์ ได้แก่ โซเครตีส เพลโต และอริส

                       โตเติล

                              โซเครตีส (Socrates) เป็นนักปราชญ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง “ปรัชญาการเมือง”

                       มีความสนใจในเรื่องปรัชญา จริยศาสตร์ และวาทศิลป์ เขาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องรัฐ

                       กฎหมาย ความยุติธรรม และคุณค่าทางจริยธรรมของความประพฤติต่าง ๆ ในสังคมโลก

                              เพลโต (Plato) เป็นลูกศิษย์ของโซเครติส เป็นนักปราชญ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง

                       “ทฤษฎีการเมือง”  เขาได้แสดงความคิดเห็นและเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องรัฐ การปกครอง และ
                       การเมืองไว้มากมาย หนังสือเล่มที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานทางการเมืองและมีชื่อเสียงรู้จักกัน

                       แพร่หลาย คือ The Republic (อุตมรัฐ)  เป็นหนังสือที่เขียนถึงเรื่องรัฐในอุดมคติว่า ต้องเป็นรัฐที่

                       สมบูรณ์เพียบพร้อมทุกประการ มีการจัดระบบภายในอย่างดี เช่น ระบบเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม
                       และการเมือง มีผู้ปกครองที่มีความรู้เป็นนักปราชญ์ที่เฉลียวฉลาด


                              อริสโตเติล (Aristotle)  เป็นลูกศิษย์ของเพลโต เป็นนักปราชญ์ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด

                       เป็นบิดาแห่ง “วิชารัฐศาสตร์”  ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไว้หลายเล่ม เช่น The
                       Constitution of Athens (รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์) The Politics (การเมือง) The Ethics

                       (จริยธรรม)  เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่ได้ริเริ่มการศึกษาของศาสตร์ทางด้านนี้ โดยใช้วิธีการทาง

                       วิทยาศาสตร์ คือ การตรวจสอบและการสังเกตการณ์ เขาได้กล่าวว่า รัฐเป็นศูนย์รวมทางด้านการเมือง

                       มีอํานาจหรือที่เรียกว่าอํานาจในการปกครอง สามารถบังคับให้สมาชิกของสังคมนั้นประพฤติปฏิบัติ
                       ตามความต้องการของรัฐ


                              ในเวลาต่อมาเกิดลัทธิเทวสิทธิ์ (The  Divine  Theory)  มีความเชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก โดย
                       พระเจ้าได้ส่งตัวแทนมาปกครอง คือ กษัตริย์ ซึ่งประชาชนทุกคนต้องเคารพและเชื่อฟัง มิฉะนั้นจะถูก

                       พระเจ้าลงโทษ ทําให้กษัตริย์มีอํานาจเหนือดินแดนหรืออาณาบริเวณที่ครอบครอง จนกระทั่งในปี
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11