Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     24



                              growth and effectiveness. (Chalofsky,1992 cited in Wilson, John P.,
                              2005: 10)


                              Human Resource Development encompasses activities and processes
                              which are intended to have impact on organizational and individual

                              learning (Stewart and McGoldrick, 1996 cited in Wilson, John P., 2005:

                              10)

                              การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงตัวมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกหรือพนักงาน

                       เจ้าหน้าที่องค์การให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ หรือเรียกโดยรวมว่า ศักยภาพของพนักงานให้เป็น

                       ประโยชน์ต่อองค์การ ซึ่งก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลขององค์การ (สัญญา สัญญาวิวัฒน์,

                       2549: 232)

                              การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การบูรณาการเพื่อใช้การฝึกอบรมและการพัฒนาอาชีพ

                       การพัฒนาองค์การ สําหรับปรับปรุงบุคคล ทีมงาน และประสิทธิผลขององค์การ (ดนัย เทียนพุฒ,
                       2541: 150)


                              การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่ได้ออกแบบไว้อย่างมีเป้าหมายเพื่อให้
                       ผู้ปฏิบัติงานได้มีโอกาสเรียนรู้โดยการฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา เป็นการเพิ่มพูนความรู้และ

                       ศักยภาพในการทํางาน รวมทั้งปรับพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานให้พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ

                       ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การและมีโอกาสก้าวหน้าในตําแหน่งที่สูงขึ้น (สุนันทา เลาหนันทน์,

                       2546 อ้างใน สัมฤทธิ์ ยศสมบัติ, 2549: 197)

                              การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การดําเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนและ

                       ปรับปรุงให้บุคลากรมีความรู้ มีทักษะ และความสามารถในการทํางานที่เหมาะสม มีความงอกงาม

                       เติบโตทางจิตใจและบุคลิกภาพ อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ดี
                       ขึ้น (ชูชัย สมิทธิไกร, 2541 : 34)


                              การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านรัฐศาสตร์ หมายถึง การเตรียมประชาชนสําหรับการมี
                       ส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง โดยเฉพาะประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ส่วนทางด้าน

                       เศรษฐศาสตร์ หมายถึง การเพิ่มพูนทุนมนุษย์และการลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจ (นงนุช วงษ์

                       สุวรรณ, 2546 อ้างใน สัมฤทธิ์ ยศสมบัติ, 2549: 196)

                              สัมฤทธิ์ ยศสมบัติ (2549: 198) ใช้คําว่า การพัฒนาพนักงานที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึง

                       การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ โดยเทียบเคียงกับความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30