Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     29



                       สถานที่หรือชุมชน และรู้จักบุคคล ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคน คือ นิพพาน อันเป็นภาวะที่
                       ปราศจากกิเลสเรื่องเศร้าหมอง (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2549)


                              ในทํานองเดียวกัน พระธรรมปิฎก (2542) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกหรือพัฒนา
                       ได้ ความประเสริฐของมนุษย์อยู่ที่การฝึกฝนและพัฒนา เมื่อพัฒนาแล้วมนุษย์จะสามารถเข้าถึง

                       อิสรภาพและความสุขได้จริง กลายเป็นความประสานเสริมเติมเต็มกลมกลืนซึ่งกันและกัน ทําให้เกิด

                       ความสมบูรณ์และดุลยภาพ หากมนุษย์ยังไม่พัฒนามักจะทําให้เกิดความแตกต่างกลายเป็นความ

                       ขัดแย้งหรือเกิดความสับสน ศักยภาพของการพัฒนา คือ การทําให้คนสามารถทําให้ความขัดแย้ง มี
                       ความหมายเป็นความประสานเสริม การพัฒนามนุษย์จะต้องประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งใน

                       การพัฒนามนุษย์หรือการพัฒนาคน ต้องทําทั้ง 3 ขั้นตอน คือ

                              1. พฤติกรรม ได้แก่ การทํามาหาเลี้ยงชีพ และวิธีปฏิบัติในการผลิตและบริโภค แบ่งปันและ
                       อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม

                              2.  จิตใจ ได้แก่ คุณธรรม ความรู้สึก แรงจูงใจ และสภาพจิตใจ เช่น ความสุข ความพอใจ

                       ความสดชื่นเบิกบาน

                              3.    ปัญญาหรือปรีชาญาณ ได้แก่ ความรู้เข้าใจเหตุผล การเข้าถึงความจริง ความเชื่อ
                       ทัศนคติค่านิยมและแนวความคิดต่าง ๆ


                              จากที่กล่าวมาข้างต้น การพัฒนามีหลายความหมาย โดยเฉพาะการพัฒนาคนมีการใช้คํา
                       ต่างๆ กัน เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) การพัฒนามนุษย์

                       (Human      Development)  การจัดการ/การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human        Resource

                       Management) เนื่องจากมีมุมมองหรือระดับการวิเคราะห์ที่ต่างกัน อาจเริ่มตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับ

                       องค์กร ระดับสังคมหรือชุมชน รวมไปถึงระดับชาติหรือนานาชาติก็ได้ ซึ่งมุมมองในแต่ละระดับมี
                       ความสัมพันธ์เชื่อมโยงถึงกัน เช่น หากมองในระดับบุคคล “มนุษย์” ต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี

                       มีความรู้ความสามารถไปทํางานให้กับองค์กร รวมไปถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม ประเทศหรือในโลกได้

                       อย่างมีความสงบสุข เช่นเดียวกันหากมองในระดับสังคมหรือประเทศ จุดเน้นหรือเป้าหมายของการ
                       พัฒนาก็เริ่มตั้งแต่การเป็นคนดีอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความ สงบสุข มีความรู้ความสามารถใน

                       การทํางานจนไปถึงการแข่งขันในการผลิต การสร้างรายได้หรือความมั่งคั่งให้กับประเทศเพื่อความอยู่

                       ดีกินดีมีสุขหรือความสงบสุขร่มเย็นของมวลมนุษยชาติ แต่หากมองในระดับองค์การ โดยเฉพาะ

                       องค์การทางธุรกิจ “มนุษย์” เป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิต ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีจุดเน้น
                       หรือเป้าหมายเพื่อการเพิ่มศักยภาพหรือประสิทธิภาพของคนในการทํางานให้กับองค์การ การพัฒนา

                       ทรัพยากรมนุษย์ในแนวคิดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ (โปรด

                       อ่านรายละเอียดใน Thomas N. Garavan, David Mcguire and David O’Donnell,2004.
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35