Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
33
3) การพึ่งตนเองได้ทางทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง ความสามารถในการใช้ทรัพยากร
ธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และความสามารถในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ดํารงอยู่
ไม่ให้เสื่อมเสียไปจนหมดสิ้น หรือไม่ให้เสียสมดุลธรรมชาติ
4) การพึ่งตนเองได้ทางจิตใจ หมายถึง การมีสภาพจิตใจที่กล้าแข็ง เพื่อที่สามารถต่อสู้กับ
ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งการหาเลี้ยงชีพ การพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้า การยึดมั่นปฏิบัติตนตาม
หลักทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา
5) การพึ่งตนเองได้ทางสังคม หมายถึง การที่คนกลุ่มหนึ่งมีความเป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น
มีผู้นําที่มีประสิทธิภาพ สามารถนํากลุ่มคนเหล่านี้ให้ดําเนินการใด ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้วยตนเอง
หรือสามารถหาความช่วยเหลือจากภายนอกเข้ามาช่วย ทําให้ชุมชนช่วยตนเองได้
7. เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก
ระดับทั้งครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทาง
สายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อ
การมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการ
ดําเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสํานึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และ
ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ
เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม
สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี (อ่านรายละเอียดในบทที่ 4)
นอกจากที่กล่าวมา แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีอยู่
กว้างขวาง หลากหลาย ครอบคลุมและเกี่ยวพันกับกระบวนการพัฒนาหลายสาขา ไม่จํากัดลงเฉพาะ
เรื่องของการเกษตรกรรม เช่น น้ํา ดิน อากาศ และการเพาะปลูกเท่านั้น หากแต่ยังมีเรื่องของการ
บริหารจัดการ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคม และการส่งเสริม
คุณภาพชีวิตของประชาชน ได้เสริมสร้างความมั่นคงทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศชาติเป็น
ส่วนรวม เป็นการแบ่งเบาภาระ อุดช่องว่าง และเสริมงานด้านการพัฒนาประเทศของรัฐบาลอย่าง
ประสานสอดคล้องกัน แนวคิดการพัฒนาคนอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะเสนอไว้ คือ “แนวคิดการ
พัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (Self Reliance)” เป็นแนว