Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
40
เกณฑ์การวัดอัตราการพัฒนา
นอกจากเกณฑ์การวัดทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น ในเรื่องการเพิ่มผลผลิตทั้ง
ภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ยังมีเกณฑ์การวัดทางสังคม ได้แก่ จํานวนคนรู้หนังสือ จํานวน
พลเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง จํานวนเครื่องรับโทรศัพท์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อจํานวนประชากร
ทั้งประเทศ และเกณฑ์ทางการเมือง ได้แก่ การปกครองระบอบประชาธิปไตย (ดํารงค์ ฐานดี, 2538:
17) ซึ่งฮันติงตัน (Huntington) (อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2545) ได้อธิบายว่า มีการใช้อํานาจอย่างมี
เหตุมีผลเหมาะสม มีการขยายการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้ครอบคลุมกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น และมีการ
รวมตัวกันของชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทําให้เกิดสํานึกทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน
ผู้เขียนคิดว่าอาจต้องเพิ่มเกณฑ์ทางสังคมเหล่านี้เข้าไปด้วย เช่น จํานวนเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้
อินเตอร์เน็ต การใช้โทรศัพท์มือถือ
ระดับการพัฒนา
การพัฒนาตามทฤษฎีความทันสมัย สามารถวิเคราะห์ระดับการพัฒนาได้เป็น 2 ระดับ คือ
(ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2542)
1. ระดับโครงสร้างทางสังคม
1) เป็นสังคมเมือง (Urbanization) เน้นการพัฒนาด้านวัตถุ มีการสร้างตึกอาคารสูงใหญ่
มีสิ่งอํานวยความสะดวกใช้ในชีวิตประจําวัน รวมไปถึงการกินหรือการบริโภคอาหารแพง ๆ และมีชีวิต
แบบหรูหราอยู่ในเมือง
2) เป็นสังคมอุตสาหกรรม (Industrialization) เน้นการผลิตเพื่อการขาย มีการใช้
เครื่องจักรและเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยในการผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้มาก ๆ จะได้ส่งออก
และทํากําไรสูงสุด
3) เป็นสังคมที่มีการแข่งขัน (Competition) เน้นการแข่งขันและประสิทธิภาพในการ
ทํางาน เพราะการแข่งขันนํามาซึ่งประสิทธิภาพในการทํางานของคนและองค์กร เน้นการผลิตให้
ได้มากที่สุด แต่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด
2. ระดับบุคคล ลักษณะของคนตามทฤษฎีนี้จะต้องเป็นเจ้าของกิจการหรือเจ้าของบริษัท
การมีประเพณีเป็นเรื่องดีแต่ต้องไม่ยึดถือมากนักจนเป็นทาส ตําแหน่งหน้าที่การได้มาจากการทํางาน
และความสามารถไม่ใช่ได้มาจากชาติกําเนิดเช่นในอดีต การคิดมุ่งสู่อนาคต เป็นคนมีเหตุผล มีการ
เปลี่ยนแปลงและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมถึงการมุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
ซึ่งอเล็ก อิงเคล็ส (Alex Inkeles) ได้กล่าวถึง ลักษณะของคนที่มีความทันสมัย (Modern Man)
จํานวน 12 ข้อ ได้แก่