Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
47
3. การกระจายรายได้ในลักษณะของการกําหนดนโยบายที่จะเปลี่ยนรูปแบบในการดําเนิน
ชีวิตของคนที่มีรายได้มาก โดยการใช้นโยบายภาษี นโยบายด้านราคา การจูงใจ และในกรณีที่จําเป็น
อาจต้องใช้วิธีการปันส่วน
4. ในบางประเทศ รัฐอาจจําต้องใช้นโยบายการควบคุมและเป็นเจ้าของกิจการที่เกี่ยวกับ
ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการเพิ่มความสามารถและความพยายามในการเจรจาต่อรองกับบรรษัท
ข้ามชาติ
5. ดําเนินนโยบายทางวัฒนธรรม เพื่อลดภาวะการณ์พึ่งพาทางวัฒนธรรมที่เคยมีต่อประเทศ
มหาอํานาจ
ข้อเสนอเชิงนโยบายของการพัฒนาตามทฤษฎีนี้ ได้เสนอไว้ว่า ประเทศในโลกที่ 3 จะต้อง
เชื่อมโยงกับประเทศศูนย์กลาง และต้องเผชิญหน้ากับทุนนิยมระหว่างประเทศ ต้องกําหนดนโยบาย
การพัฒนาประเทศเองอย่างสมเหตุสมผลทั้งด้านการเงินและเทคโนโลยี โดยการปรับบทบาทของรัฐใน
การจัดระเบียบการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียม การจ้างงานและความยากจนเพื่อสนอง
ความต้องการในโลกที่ 3 มีการรวมกลุ่มกันเองเพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ สําหรับการเปลี่ยนแปลง
หรือปฏิรูปโครงสร้างภายใน ให้พิจารณาสถานการณ์เงื่อนไขและประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคมที่
ต่างกันด้วย
บทบาทการศึกษา
ทฤษฎีความทันสมัยได้เน้นการศึกษาแบบเป็นทางการหรือการศึกษาในระบบโรงเรียน แต่
ทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การศึกษาที่รัฐจัดในระบบโรงเรียนทําให้เกิดการพึ่งพา โดยประเทศด้อยพัฒนาจะเกิด
เงื่อนไขต่าง ๆ มากขึ้น และต้องแบมือขออยู่เสมอ ในที่สุดบ่อเกิดการพัฒนา ก็คือ ความด้อยพัฒนา
ทฤษฎีการพึ่งพาได้เสนอว่า การศึกษานั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ต้องทําให้คนช่วยตัวเองได้ บูรณาการ
เข้ากับชีวิตได้ ไม่เหมือนกับการเอาเงินใส่กล่องไปฝากธนาคารแล้ววันหนึ่งจะถอนออกมาใช้ได้
การศึกษาเป็นเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่ จึงมองว่าการศึกษาไม่ใช่แค่ในระบบของโรงเรียนเท่านั้น ควรแยก
ตามกลุ่มความสนใจ (ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2542) และการพัฒนาก็ไม่ใช่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
แต่เป็นการปฏิรูประเบียบสังคมให้มีความยุติธรรมมากขึ้น มีเอกราชของชาติ และได้รับการธํารงไว้
เป็นอิสระจากการแทรกแซงครอบงําของรัฐบาลอื่นใดหรือกลุ่มผลประโยชน์ (เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2545)
อย่างไรก็ดี การพัฒนารัฐของไทยในระยะแรกของแผนพัฒนาได้อาศัยทฤษฎีความทันสมัย
เป็นแนวทางหลักมาตลอด แต่ในระยะหลัง ๆ ได้ปรากฎเรื่องการพึ่งตนเองและมีการพูดถึงกันมากขึ้น
(ดูรายละเอียดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในบทที่ 5) ในขณะที่ทฤษฎีการพึ่งพาเองก็
ถูกวิจารณ์ว่ายังขาดแนวทางการพัฒนาและข้อเสนอที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมว่าจะทําอย่างไร