Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
48
ทฤษฎีมาร์กซ์ซิสต์ (Marxist Theory)
แนวคิดและทฤษฎีในกลุ่มนี้ ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
เกิดขึ้นในราวปี ค.ศ.1970 ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง (2542) ได้สรุปกลุ่ม
นักวิชาการ อุดมคติ แนวคิดหลัก ลักษณะสังคม และบทบาทการศึกษา ไว้ดังนี้
กลุ่มนักวิชาการ
นักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) สตาลิน (Stalin) เลนิน (Lanin) เหมา
เจ๋อ ตุง (Mao Jur Tung) ฮิตเลอร์ (Hitlor) คัสโตร (Castro)
อุดมคติ
อุดมคติของทฤษฎีนี้ คือ การทําให้ทุกคนในสังคมเท่าเทียมกัน ไม่มีชนชั้น เน้นเรื่องพลัง
มวลชนที่สามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
แนวคิดหลัก
แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้ คือ การพยายามจัดสรรอํานาจและทําให้ทุกคนในสังคมมีความเท่า
เทียมกัน โดยการทําสงครามที่เหมา เจ๋อ ตุง เรียกว่า สงครามประชาชน โดยมีเป้าหมายที่จะแย่งชิง
อํานาจรัฐตามทฤษฎีการปฏิวัติ 3 ขั้นตอน คือ ปฏิวัติประชาธิปไตย ปฏิวัติสังคมนิยม และปฏิวัติไปสู่
คอมมิวนิสต์สมบูรณ์แบบ ด้วยการปลุกระดมมวลชนให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้ มีการรวมกําลังผู้รัก
ชาติขับไล่จักรวรรดินิยม โดยมีเงื่อนไขเรื่องประชาธิปไตย เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และความไม่เป็น
ธรรมในสังคมเป็นเครื่องมือเชิงรุกในทางการเมือง (ปรีชา ศรีวาลัย, 2533)
ลักษณะสังคม
สังคมที่พัฒนา คือ ไม่มีชนชั้น ทุกอย่างเป็นของรัฐ โดยสังคมจะมีการเปลี่ยนผ่านจาก
ประเพณีขุนนาง เป็นทุนนิยม สังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ในที่สุด ซึ่งลักษณะคนที่พัฒนาจะต้องเป็น
คนที่มีจิตสํานึก (Minded Man) และถูกปลดปล่อย (Liberated Man) จากสิ่งครอบงําทั้งปวง
บทบาทการศึกษา
บทบาทการศึกษาตามแนวคิดและทฤษฎีที่ผ่านมาทําให้คนเลื่อนชนชั้นทางสังคม แต่ทฤษฎีนี้
มองว่า การศึกษาต้องทําให้ทุกคนรู้หนังสือ อ่านออก และเขียนได้ เป็นกลไกที่ช่วยยกระดับจิตสํานึก
ของคน เพื่อความยุติธรรม การปฏิวัติ และการปลดปล่อย ซึ่งบ่อเกิดของการพัฒนา ก็คือ ชนชั้น