Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     49



                       กรรมาชีพมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นการพัฒนาจึงหมายถึง ความก้าวหน้าขั้นสูงสุดซึ่งจะเกิดได้ต้อง
                       ทําลายล้างการจัดระเบียบทางสังคมแบบทุนนิยม


                              นอกจากนี้ มาร์กซ์ได้วิพากษ์ระบบทุนนิยม โดยกล่าวถึงความทุกข์ทน 4  ชนิดของแรงงาน
                       ต่างด้าวที่เกิดขึ้นในยุคทุนนิยม ได้แก่

                              1. ความทุกข์ทนจากผลิตผลที่ผู้ผลิตไม่ได้ใช้ผลผลิต

                              2. ความทุกข์ทนจากกระบวนการการผลิตที่ต้องทุกข์ทนทํางานหามรุ่งหามค่ํา

                              3. ความทุกข์ทนจากสภาวะของการผลิตที่ไม่ได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ผลิต
                              4. ความทุกข์ทนจากการที่ต้องผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนมากกว่าเพื่อความพึงพอใจของมนุษย์


                              ระบบคิดของสังคมทุนนิยมคิดแต่เรื่องของกําไร ขาดทุน ค่าเช่า ค่าจ้าง การแลกเปลี่ยน ฯลฯ

                       ซึ่งในหนังสือของเขาเรื่อง "ทุน” (The Kapital) ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม บังคับให้
                       กรรมกรจําเป็นต้องขายแรงงานของตนเองในราคาถูกแก่นายทุน ดังนั้นกําไรของนายทุนแท้จริงแล้ว

                       เกิดจากการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากค่าแรงของกรรมาชีพเพื่อกําไร ชนชั้นนายทุนจึงต้องพัฒนา

                       เครื่องมือและวิธีการการผลิตให้ก้าวหน้าขึ้นตลอดเวลา  ต้องขยายตลาดสินค้า แหล่งวัตถุดิบและ
                       กิจการไปทั่วโลก การผลิตแบบทุนนิยมนี้ทําให้เกิดความปั่นป่วนและวิกฤติทางเศรษฐกิจแบบวัฎจักร

                       นั่นคือ การผลิตล้นเกิน ท่ามกลางโลกที่อดหยากขาดแคลน เพื่อแก้ไขวิกฤติการผลิตล้นเกิน และรักษา

                       ราคาของผลผลิตให้สูงกว่าต้นทุน  จึงต้องทําลายผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด พยายามขยายตลาด
                       ใหม่  และใช้ตลาดเก่าให้เป็นประโยชน์ ซึ่งผลสุดท้ายก็จะนําไปสู่วิกฤตที่รอบด้านยิ่งขึ้นและรุนแรง

                       ยิ่งขึ้น ทําให้ความขัดแย้งทางชนชั้นในสังคมรุนแรงขึ้น  จนนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในที่สุด จาก

                       ปรากฏการณ์ดังกล่าว มาร์กซ์  เห็นว่า สิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมทุนนิยมนั้น

                       เป็นจริงเฉพาะกับผู้ที่มีทรัพย์สิน ไม่ใช่สําหรับกรรมมาชีพและคนยากจน การที่มนุษย์ถูกทําให้ยอมรับ
                       ว่ามีความรวยความจนนั้น มาร์กซ์ เรียกว่าจิตสํานึกหลอกลวงและจอมปลอม (False Conciousness)

                       ซึ่งเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมในสังคมมนุษย์ให้ถูกครอบงําโดยปัจจัยในการผลิต คือ ทุน เครื่องมือ ที่ดิน

                       และที่สําคัญ คือ แรงงาน

                              อย่างไรก็ดี การพัฒนารัฐบนโลกใบนี้จะเห็นได้ว่าแนวคิดและทฤษฎีของนักวิชาการในกลุ่ม

                       ของคาร์ล มาร์กซ์  ไม่สามารถต้านระบบทุนนิยมภายใต้ทฤษฎีความทันสมัย ซึ่งเป็นกระแสหลักของ

                       การพัฒนาได้ เริ่มจากปรากฎการณ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกหมดอํานาจลง กําแพง
                       เบอร์ลินในประเทศเยอรมนีได้ถูกทุบทําลายลงไป มีการประกาศรวมประเทศระหว่างเยอรมนี

                       ตะวันออกกับตะวันตก ตามด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตแตกเป็นรัฐอิสระต่าง ๆ กว่า 20
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55