Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
46
โครงสร้างระบบทุนนิยมโลกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รัฐศูนย์กลางและรัฐบริวาร
ความสัมพันธ์ของรัฐทั้งสองมิใช่การครอบงําด้วยการใช้อํานาจบังคับเพื่อตักตวงผลประโยชน์ แต่เป็น
ผลของความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มผู้นําหรือชนชั้นสูงของรัฐ ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน ก่อให้เกิด
ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐขึ้น และจะทําให้เกิดการได้เปรียบของรัฐที่เข้มแข็งกว่า
ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การพึ่งพาจึงเป็นสภาวะของความด้อยพัฒนาที่เกิดขึ้นจากการแผ่อํานาจ
ของรัฐศูนย์กลาง อาทิเช่น อิทธิพลของเงินทุน เงินกู้ เงินช่วยเหลือ รวมทั้งเทคโนโลยี การศึกษา และ
วัฒนธรรม ทําให้รัฐบริวารลดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองและหันมาพึ่งพารัฐศูนย์กลางมาก
ขึ้น ทําให้เกิดความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างนายทุนต่างชาติ พ่อค้านายหน้าและข้าราชการ
ระดับสูง ในด้านการค้าที่ไม่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการสะสมทุนในระดับโลกขึ้น มีการเร่งให้นายทุน
ต่างชาติเข้ามาลงทุน เพราะมีทุน เทคโนโลยีและการจัดการที่ดีกว่า ทําให้บรรษัทข้ามชาติได้รับผล
กําไรในการทําธุรกิจอุตสาหกรรมและการผูกขาดตลาด นอกจากนั้นการพึ่งพาจะก่อให้เกิดการตกเป็น
ทาสทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทําให้สูญเสียความมั่งคั่งและการริเริ่มทําธุรกิจอุตสาหกรรม
ไม่สามารถหลุดพ้นจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนา (ดํารงค์ ฐานดี, 2538: 95)
ลักษณะสังคม
ทฤษฎีการพึ่งพาได้กล่าวถึงลักษณะสังคมที่พัฒนาแล้วว่า ต้องหลุดพ้นหรือปลดเปลื้องจาก
ภาวะการพึ่งพา นําไปสู่การพึ่งตนเอง การจัดระเบียบทางสังคมไม่ใช่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ดังนั้นลักษณะของคนจึงต้องพึ่งตนเอง (Self – Reliant) และมีจิตใจเพื่อสังคม (Socialist – Mine)
(ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2542) เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นให้ชุมชนพึ่งตนเอง
ทั้งเทคโนโลยี เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ จิตใจและสังคม ตามที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 2
แนวทางการพัฒนา
แนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความด้อยพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีนี้ คือ การปฏิวัติ
เป็นแบบสังคมนิยมและการตัดความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาที่เคยมีมากับประเทศศูนย์กลาง ซึ่งจะทําให้
ประเทศหลุดพ้นจากความด้อยพัฒนา ดังนั้นแนวทางการพัฒนาที่สําคัญ ก็คือ ความพยายามในการ
พึ่งพาตนเองเป็นหลัก ซึ่งสุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์ (2527 อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2545) ได้สรุปแนวคิด
เรื่องนี้ของเซียร์ (Seers) ไว้ว่า
1. การลดการพึ่งพาจากการนําเข้าในสินค้าและบริการที่จําเป็น ทั้งอาหาร น้ํามัน ผลิตภัณฑ์
ปิโตรเลียม ปัจจัยหรืออุปกรณ์การผลิตประเภททุน และที่สําคัญ คือ ลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญที่มาจาก
ภายนอกประเทศ
2. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและรสนิยมในการบริโภคและการเพิ่มสมรรถนะในการผลิต