Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขั้นตอนและกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ 9
2. การวางแผนยุทธศาสตร์ ต้องเป็นการระบุข้อความเชิงปฏิบัติที่กระทัดรัด มีเป้าหมาย
ชัดเจน
3. การวางแผนยุทธศาสตร์ ไม่ใช่ทัศนะของผู้บริหาร ต้องเกิดจากการประมวลสภาพแวดล้อม
ทุกด้านที่เกี่ยวข้องและสภาพแวดล้อมภายในของสถาบันเอง รวมทั้งภารกิจของสถาบันด้วย
4. การวางแผนยุทธศาสตร์ เป็นการวางแผนโดยรวมของสถาบันเพื่อความสําเร็จและความ
เป็นเลิศของสถาบันระยะยาว
5. การวางแผนยุทธศาสตร์ ไม่ได้ทําโดยนักวางแผน แต่นักวางแผนจะทําหน้าที่เตรียมข้อมูล
ต่าง ๆ และเป็นผู้อํานวยการให้ เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารซึ่งในการตัดสินใจต้องมีข้อมูล
สนับสนุน
6. การวางแผนยุทธศาสตร์ ไม่ใช่การตัดสินใจที่ยอมตามความต้องการของสังคมเสมอไป
สถาบันต้องมีจุดยืนโดยพิจารณาถึงจุดเด่นของตนเอง รักษาเอกลักษณ์นั้นไว้
7. การวางแผนยุทธศาสตร์ จะต้องคํานึงถึงอนาคตเสมอ การตัดสินใจวันนี้เพื่อวันพรุ่งนี้ที่
ดีกว่า แต่ไม่ใช่การเพ้อฝันอย่างไร้เหตุผล
ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ เป็นแผนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ที่ตั้งไว้ก็จะต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการยุทธศาสตร์ (making strategy) โดยเริ่มจากการก่อตัว
(strategy formulation) การนํายุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ (strategy implementation) และการ
ประเมินผลยุทธศาสตร์ (strategy evaluation) (Richard L.Daft, 2000; Yang Li, Sun Guohui,
Martin J.Eppler, 2008; Wooldridge and Floyd, 1990) จะเห็นได้ว่าคล้ายกับกระบวนการ
นโยบายสาธารณะ (making public policy) ที่มีขั้นตอนใหญ่ ๆ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การกําหนด
นโยบาย (policy formulation) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (policy implementation) และการ
ประเมินผลนโยบาย (policy formulation) (ศุภชัย ยาวะประภาษ, 2552) เพียงแต่มีความหมาย
ต่างกัน กล่าวคือ นโยบายสาธารณะ เป็นแนวทางการดําเนินกิจกรรมของรัฐบาล หรือการตัดสินใจ
ของรัฐบาลว่าจะทําหรือไม่ทําอะไร หรือจะมีการอนุมัติหรือไม่อนุมัติบางสิ่งบางอย่าง (ศุภชัย ยาวะ
ประภาษ, 2552; ทศพร ศิริสัมพันธ์, 2551) นอกจากนี้ Col. Dennis M. Drew แห่งสถาบันวิจัยพลัง
อํานาจทางอากาศ มหาวิทยาลัยทางอากาศ และ Dr.Donald M. Snow คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยอัล
บามา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนหนังสือเรื่อง “Making strategy : an introduction to
national security processes and problems” ซึ่งได้กล่าวถึงกระบวนการยุทธศาสตร์
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) Determinnig National Security Objective 2) Formulating
Grand Strategy 3) Developling Military Strategy 4) Designing Operational Strategy 5)
Formulating Battlefield Strategy (Tactics) (Dennis and Snow, 1988)
การกําหนดยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation)