Page 174 -
P. 174
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บทที่ 9
ขนมหวานจับใจอย่างไทย
สักวาขนมหวาน หวานจับใจ หวานอย่างไทย ใคร่ค้นหา
บรรพบุรุษ เสกสรรปั้นแต่งมา โอ้นวลน้องจ๋า ข้าขอชื่นชม
แต่ละขนม คมทางความคิด ช่างประดิษฐ์พินิจวิจิตรผสม
ขนมเสริมศักดิ์ศรีวิถีไทยให้ได้ยล พ้นความยากไร้ได้ท ากิน ทุกถิ่นฐานเอย
สุรชัย จิวเจริญสกุล: ผู้แต่ง
ประวัติและความเป็นมาของขนมไทย
วันดี ณ สงขลา (2527) ขวัญใจ เอมใจ (2540) จริยา เดชกุญชร (2549) และรัมภา ศิริวงศ์ (2552)
กล่าวถึงวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในท านองเดียวกัน คือ ท้าวทองกีบม้า หรือ
“มารี กีมาร์” ภรรยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงสุลประจ าประเทศไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
มหาราช มีเชื้อชาติญี่ปุ่นสัญชาติโปรตุเกส ได้ริเริ่มการท าขนมไทยประเภททองหยิบ ทองหยอดและ
ฝอยทอง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงนิพนธ์
กาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ต าราอาหารและขนมไทย ออก
เผยแพร่ คือ แม่ครัวหัวป่าก์ ที่ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ (2554) จึงนับได้ว่า อาหารไทย
และขนมไทยมีประวัติความเป็นมาที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ยิ่งนัก
“ขนมไทย” ในความหมายมิได้หมายถึงของหวานที่เสิร์ฟหลังจากรับประทานอาหารคาวเท่านั้น
แต่ขนมของไทยยังหมายถึง “ของว่าง” หรือ อาหารว่าง ขนมมงคล ขนมที่ใช้ในพิธีกรรม หรือรวมถึง
ขนมที่เป็นของฝาก จากประวัติศาสตร์และพัฒนาการอาหารไทย พบว่า มีการเล่าขานและบรรจุให้
ลูกหลานไทยได้เรียนรู้ไว้หลายแห่ง เช่น กาพย์เห่ชมเครื่องคาว -หวาน พระราชนิพนธ์ โดย รัชกาลที่ ๒
(กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2528) ดังต่อไปนี้
สังขยาหน้าไข่คุ้น เคยมี
แกมกับข้าวเหนียวสี โศกย้อม
เป็นนัยน าวาที สมรแม่ มาแม
แถลงว่าโศกเสมอพร้อม เพียบแอ้อกอร ๚