Page 170 -
P. 170

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                                                                        150



                          5. การเรียกชื่อกาแฟตาม “ลักษณะของการชง หรือ ปรุงกาแฟ” เช่น

                                 “เอสเปรสโซ” ใช้กาแฟบดละเอียดใส่ในเครื่องอัดชงด้วยไอน ้าเดือด จะได้กาแฟเข้มข้น

                          นิยมเสิร์ฟในถ้วยใบเล็กและเสิร์ฟกับน ้าตาลกรวด
                                 “คาปูชิโน”  ชงกาแฟบดค่อนข้างเข้มข้น ¾  ถ้วย  ผสมกับนม ¼  ถ้วย  เติมวิปครีม (Whip

                          Cream) แต่งหน้าด้วยการโรยผงอบเชย (Cinnamon) หรือ ผงโกโก้ อาจเสิร์ฟด้วยเปลือกอบเชย

                          เป็นที่คนกาแฟให้ได้รสและกลิ่นของอบเชยตามความชอบ หรือ ลีลาการเสิร์ฟของผู้ปรุง

                                 “ลาเต้” ชงกาแฟบดค่อนข้างเข้มข้น ½ ถ้วย  ผสมกับฟองนม ½ ถ้วย  ดังนั้น ลาเต้ จึงเป็น
                          กาแฟใส่นมที่มีความเข้มข้นของกาแฟน้อยกว่าคาปูชิโน

                                 “มอคคา” ปกติได้จากเมล็ดกาแฟที่ปลูกรวมอยู่กับต้นโกโก้ ท าให้กาแฟมีกลิ่นโกโก้ผสม

                          แต่ในทางปฏิบัติอาจจะชงกาแฟ ¾ ถ้วย  ผสมโกโก้ ¼ ถ้วย  ให้ได้ลีลาของรสเครื่องดื่มสองรสใน
                          ถ้วยเดียวกัน ทดแทนความยุ่งยากในการหากาแฟมอคค่าแท้ที่มีราคาแพงด้วย

                                 “กาแฟเย็น” (ice-coffee with milk) เป็นการเสิร์ฟกาแฟใส่นมกับน ้าแข็ง

                                 “โอเลี้ยง” (black coffee with ice) เป็นการเสิร์ฟกาแฟไม่ใส่นมกับน ้าแข็ง โอเลี้ยง

                          มักนิยมดื่มในหมู่คนไทยและคนไทยเชื้อสายจีน นอกจากนี้ยังมี “โอเลี้ยงยกล้อ” คือ การเติมนม
                          ข้นจืด หรือ นมสด ด้านบนของโอเลี้ยงให้เห็นสีของนมด้านบน นับว่าเป็นการสร้างลีลาการดื่ม

                          โอเลี้ยงที่ต่างไป เทคนิคส าคัญของการชงโอเลี้ยงต้องใช้กาแฟเมล็ดแท้ผสมกับกาแฟไทย หรือ

                          เรียกว่ากาแฟโบราณ จึงจะได้กลิ่นหอมกาแฟอย่างไทยที่ชวนดื่มและการสนทนาต่อเนื่องยิ่งนัก

                                 “หน่อคัง” เป็นภาษาจีนแปลว่าสองรส คือ การผสมโอเลี้ยงกับชาด าเย็น มีรสชาติการดื่ม
                          กาแฟที่น่าค้นหาและควรค่าแก่การสร้างเสน่ห์ทางธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง ผู้เขียนได้ความรู้จาก

                          การศึกษาวิถีการดื่มกาแฟย่านส าเพ็ง

                                 “กาแฟเย็นปั่น” เป็นการเก็บกาแฟเย็นที่จ าหน่ายไม่หมดในหนึ่งวันเข้าช่องแช่แข็ง แล้ว
                          น าไปปั่น หากจะเพิ่มมูลค่ากาแฟปั่น อาจจะตั้งชื่อเป็น “กาแฟ Float” คือ เสิร์ฟกับไอศกรีมกาแฟ

                          ใส่ด้านบน ราดหน้าด้วยครีมข้น เรียกว่าโฟลท (float) คือ การลอยหน้าด้วยไอศกรีม รับประทาน

                          เข้ากันได้ดี

                          6. การเรียกชื่อกาแฟตาม “ชนิดของเหล้าที่ผสมกาแฟ” เช่น ไอริชคอฟฟี่ (Irish Coffee) และคาลัว
                   (Kahlua) คอฟฟี่ เป็นต้น


                          7. การเรียกชื่อกาแฟตาม “กาลเวลาของกระแสนิยม”  เช่น กาแฟโบราณ หมายถึงกาแฟไทยที่มี
                   การผสมเมล็ดธัญพืชคั่วรวมอยู่ด้วย ดังนั้น กาแฟโบราณจึงมีราคาไม่สูงแต่มีกลิ่นหอมของกลิ่นถั่วรวมอยู่

                   ด้วย ซึ่งก็นับว่าเป็นเสน่ห์ของการดื่มกาแฟไทยอีกรูปแบบหนึ่ง
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175