Page 169 -
P. 169
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
149
คาเฟอีนและสารอื่นที่มีอยู่ในกาแฟช่วยกระตุ้นการหลั่งกรดและน ้าย่อย กาแฟจึงช่วยในการย่อยอาหาร
เป็นเหตุให้คนจ านวนมากดื่มกาแฟหลังอาหารแต่ละมื้อ จากการวิจัยทางการแพทย์สหรัฐฯ โดย
ดร.จี เวปสเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและคณะจากศูนย์การแพทย์ นครฮอนโนลูลู สหรัฐฯ
พบว่าผู้ชายที่ไม่ดื่มกาแฟมีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคพาคินสันมากกว่าพวกที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 5 ถ้วย
ถึง 5 เท่า นอกจากนี้ คาเฟอีนช่วยไปขยายหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจ ท าให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ
ได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ท าให้เส้นเลือดแดงบริเวณที่ศีรษะหดตัว ซึ่งช่วยลดอาการปวดหัว
จากไมเกรนได้ จากการศึกษาของนายแพทย์ วินเซนต์ ทูบิโอโล แห่งศูนย์การแพทย์ยูซีแอลเออ-ฮาร์เบอร์
ได้ตั้งทฤษฎีใหม่ว่า การรับคาเฟอีนจ านวน 400 มิลลิกรัมต่อวัน อาจช่วยลดอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้ และ
จากรายงานการวิจัยในกลุ่มสตรีที่ดื่มกาแฟไม่เกิน 5 ถ้วยต่อวันพบว่า กาแฟมีส่วนช่วยให้การเสี่ยงต่อการ
เป็นโรคหัวใจลดลง แม้ในรายที่มีปัญหาเส้นเลือดอุดตันหรือหัวใจเต้นไม่สม ่าเสมอ ส าหรับผู้ที่ดื่มกาแฟ
ทุกวัน วันละ 6 ถ้วย ขึ้นไปก็ไม่พบว่า มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าปกติ และจากการส ารวจหลายครั้ง
รวมทั้งการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พบว่า ผู้ดื่มกาแฟมีอัตราการเป็นมะเร็งเต้านมต ่ากว่าผู้ที่ไม่ดื่ม
กาแฟ ส่วนการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตันพบว่า คนไข้ที่ดื่มกาแฟอย่างน้อย 5 ถ้วยต่อวัน มีความเสี่ยง
เป็นมะเร็งล าไส้ต ่ากว่ากลุ่มอื่นถึงร้อยละ 40 กาแฟยังกลายเป็นข่าวดีส าหรับผู้ชายทั่วโลก เมื่อ ดร.ดาร์ซี
โรแบร์โต ลิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชวิทยาของมหาวิทยาลัยริโอ เดอจาเนโร ในบราซิล เปิดเผยว่า ผู้ที่มี
ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา การเสพยา ภาวะซึมเศร้าและอายุขัย สามารถ
แก้ปัญหานี้ได้ด้วยการดื่มกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน (Black Canyon,2005)
การเรียกชื่อกาแฟ
หากเดินส ารวจตลาดกาแฟทั่วโลกเราจะพบว่า กาแฟ ถูกขนานนามมากมายหลากหลายชื่อ ทั้ง ๆ
ที่ กาแฟที่มีจ าหน่ายในท้องตลาดมาจาก 2 สายพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ คือ กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า และ กาแฟ
สายพันธุ์โรบัสต้า ดังนั้นที่มาของชื่อกาแฟที่มีอยู่ทั่วไป จึงได้รับการขนานนามตามองค์ประกอบเหล่านี้
คือ
1. การเรียกชื่อกาแฟตาม “สายพันธุ์ของกาแฟ” คือ อาราบิก้า และ โรบัสต้า
2. การเรียกชื่อกาแฟตาม “ประเทศที่มีการปลูกกาแฟ” เช่น บราซิล มาเลเซีย คองโก
ไทยแลนด์
3. การเรียกชื่อกาแฟตาม “แหล่งปลูกกาแฟในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก” เช่น “บูลเมาเทนท์” เป็น
เทือกเขาในประเทศบราซิล หรือ “คีรีแมนไจโร่” เป็นเทือกเขาทางตอนเหนือของทวีฟแอฟริกา หรือ
“เวียงพิงค์” เป็นการเรียกชื่อทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นต้น
4. การเรียกชื่อกาแฟตาม “รสนิยมของคนในแต่ละประเทศที่ดื่มกาแฟ” เช่น เฟร้นเบลน เวียนนา
อเมริกาโน อิตาเลี่ยน เป็นต้น