Page 179 -
P. 179
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
159
แกงบวดฟักทอง
เครื่องปรุง
ฟักทองหั่นตามชอบ 3 ถ้วย
หัวกะทิ 2 ถ้วย
หางกะทิ 2 ถ้วย
ใบเตยล้างสะอาด ตัดท่อน 2 ใบ
น ้าตาลทราย 3 ถ้วย
เกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีท า
1. ผสมหางกะทิ ใบเตย น ้าตาลทราย และเกลือป่น ลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน
ปานกลางและคนเรื่อย ๆ จนกะทิเดือด
2. ใส่ฟักทองที่หั่นไว้ในหม้อน ้ากะทิ ต้มต่อจนเดือด สังเกตความขุ่นของเนื้อฟักทองดิบ
จะเปลี่ยนเป็นมีลักษณะใสขึ้นแสดงว่าสุกแล้ว
3. เติมหัวกะทิ แล้วยกลง เตรียมเสิร์ฟ
เทคนิคการท าขนมแกงบวดฟักทอง
1. การต้มกะทิกับน ้าตาลให้เดือดก่อนจึงใส่ฟักทอง เพื่อให้ความเข้มข้นของน ้ากะทิและน ้าตาล
ไปรัดตัวของฟักทองไม่ให้เละ วิธีนี้ไม่ต้องน าฟักทองไปแช่น ้าปูนใส เพราะเป็นการเพิ่มงาน
เสียเวลา เสียน ้าล้างน ้าปูนออก (หากล้างน ้าปูนไม่ดีจะมีกลิ่นปูนหลงเหลืออยู่) และไม่สร้าง
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากน ้าปูนที่ต้องไหลลงสู่แหล่งบ าบัดน ้าเสีย
2. ในยุคปัจจุบัน มีน ้ากะทิกล่องส าเร็จรูปจ าหน่าย และสะดวกต่อการใช้งานมาก ดังนั้น ผู้
ประกอบขนมหวานอาจจะใช้น ้ากะทิกล่องได้ ข้อดีของน ้ากะทิกล่อง คือ ไม่ต้องยุ่งยากใน
การเก็บรักษา เพราะการซื้อน ้ากะทิสด หากเก็บรักษาไม่ดี น ้ากะทิบูด จะส่งผลให้ขนมหวาน
ลดความอร่อยลงได้
3. เทคนิคการท าขนมแกงบวดมีหลักส าคัญที่กล่าวมาทั้ง 2 วิธีข้างต้น
1.4 ขนมไทยประเภทเปียก เป็นขนมหวานที่ใช้เมล็ดธัญพืช ต้มกับน ้าจนสุก จึงเติม
น ้าตาลใช้เสิร์ฟกับกะทิ ลักษณะส าคัญของขนมประเภทเปียกมีลักษณะข้นหนืด จากแป้งของเมล็ดธัญพืช
ที่ละลายออกมาในระหว่างการต้ม เช่น ข้าวเหนียวเปียก สาคูเปียก แต่หากเมล็ดธัญพืชที่ต้มแล้วไม่ข้น อาจ
จ าเป็นต้องเติมแป้ งท้าวยายม่อมผสมน ้าเย็น เทใส่ลงขณะที่ขนมต้มสุกได้ที่แล้ว ครั้นแป้ งสุกจะท าให้
ส่วนผสมของขนมมีลักษณะข้น เช่น เต้าส่วน ลูกเดือยเปียก วิธีจัดเสิร์ฟ เสิร์ฟกับน ้ากะทิข้น ๆ ที่มีรสเค็ม
เล็กน้อยราดหน้าขนม