Page 177 -
P. 177
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
157
1.2 ขนมลอยแก้ว เป็นขนมหวานที่คนไทยใช้ผลไม้ ต้มกับน ้าจนสุกแล้วเติมน ้าตาล หากเป็น
ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวควรต้องปรุงแต่งความสมดุลของรสชาติด้วยเกลือเล็กน้อย วิธีจัดเสิร์ฟ ใช้เสิร์ฟกับ
น ้าแข็งบดละเอียด เช่น กระท้อนลอยแก้ว สละลอยแก้ว มะปรางลอยแก้ว ลูกชิดลอยแก้ว ลูกจากลอยแก้ว
ลูกตาลลอยแก้ว เป็นต้น ลักษณะเฉพาะขนมลอยแก้วไม่นิยมเสิร์ฟกับกะทิ ภาชนะที่ใช้เสิร์ฟมักจะใช้ถ้วย
แก้วใส จะช่วยให้ขนมประเภทลอยแก้วแลดูน่ารับประทาน
ต ารับขนมหวานประเภทลอยแก้ว
กระท้อนลอยแก้ว
เครื่องปรุง
ส่วนที่ 1 เตรียมกระท้อนก่อนเชื่อม
กระท้อน 1 กิโลกรัม
น ้า 1 ½ ลิตร
เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนที่ 2 การเชื่อมกระท้อน
น ้า 3 ถ้วย
น ้าตาลทราย 5 ถ้วย
เกลือป่น 2 ช้อนชา
วิธีท า
1. เตรียมน ้าเกลือ ส าหรับแช่กระท้อน โดยใช้น ้า 1 ½ ลิตรผสมเกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้
เกลือละลาย
2. ปอกเปลือกกระท้อน ผ่าครึ่ง แคะเมล็ดกระท้อนออกแยกออกไว้ ส่วนของเนื้อกระท้อน
หั่นผ่า 4 ส่วน แล้วหั่นเป็นชิ้นยาวขนาดหนา ¼ เซนติเมตร แช่เนื้อกระท้อนที่หั่นลงใน
น ้าเกลือประมาณ 15 นาที แล้วขย าเนื้อกระท้อนที่หั่นไว้ แล้วบีบน ้าออกให้แห้ง
3. เทน ้าตาลทราย เกลือป่น และน ้าในส่วนที่ 2 ใส่หม้อ แล้วน าขึ้นตั้งไฟ คนให้ละลาย
4. ใส่เนื้อกระท้อนและเมล็ดกระท้อนลงในหม้อน ้าเชื่อม ต้มด้วยไฟอ่อนประมาณ 15 นาที
5. ปิดไฟตั้งทิ้งไว้จนเย็น หรือ หล่อน ้าให้เย็น แล้วใส่ภาชนะเก็บไว้ อย่างน้อย 1 คืน จึงจะน า
เสิร์ฟ (การเก็บค้างคืนจะช่วยให้น ้าเชื่อมซึมเข้าเนื้อกระท้อนและมีรสชาติอร่อยขึ้น)
6. ใช้เสิร์ฟเย็น ๆ หรือ เสิร์ฟกับน ้าแข็งบดละเอียด
เทคนิคการท าขนมหวานประเภทลอยแก้ว
1. ควรต้องแช่เนื้อกระท้อนในน ้าเกลือ เพราะความเค็มจะช่วยดึงรสฝาดของกระท้อนออก
2. น ้าเชื่อมส าหรับท าลอยแก้ว มีส่วนผสมของเกลือ เพื่อช่วยปรับสมดุลของรสเปรี้ยวในผลไม้
3. ลอยแก้วควรท าไว้อย่างน้อย 1 คืน แช่ในตู้เย็น เพื่อให้น ้าตาลซึมเข้าเนื้อผลไม้ จะได้รสอร่อย