Page 80 -
P. 80
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7) ควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมการกรีดยาง คือ การกรีดยางในปัจจุบันแรงงานในการกรีดไม่มีความ
ชํานาญ กรีดลึกบ้างกรีดหลายแผลบ้าง ทําให้ มีผลต่อ ความสมํ่าเสมอของนํ้ายาง อยากให้ทาง สกย. จัด
หลักสูตรบังคับให้กับเจ้าของสวนยางและลูกจ้าง เข้ารับการอบรม ก่อนที่จะได้รับการสงเคราะห์ มีหลักสูตร
การบริหารจัดการ กลุ่ม/องค์กร โดยนําตัวแทนกลุ่ม/องค์กร และเรียนรู้ร่วมกัน เทคนิคการ ประสานระหว่าง
กลุ่มเกษตรกรผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และตลาด
8) ควรมีการประสานความร่วมมือระหว่าง สกย. และสถาบันการศึกษา/หน่วยงานด้านวิชาการต่างๆ
เพื่อนําความรู้ หลักการทางวิชาการสู่การปฏิบัติของเกษตรกร เช่น จากปัญหาฝนตกชุกในบางพื้นที่ ทําให้ขาด
รายได้จากการกรีดยางจําเป็นต้องมีอาชีพเสริมรายได้ มีความต้องการให้เจ้าหน้าที่ สกย. ส่งเสริมอาชีพเพื่อหา
รายได้ทดแทนในวันที่ไม่สามารถกรีดยางได้ และแนวทางการส่งเสริม/วิธีการกรีดยางภาครัฐและเอกชนมีการ
ส่งเสริมการกรีดโดยมี ลักษณะการกรีดที่แตกต่างกันคือรัฐบาลส่งเสริมให้กรีด ยางด้านเดียว แต่เอกชนมีการ
ส่งเสริมให้กรีดสี่ด้านรอบต้น รวมทั้งการผลิตยางแผ่นของเกษตรกรมีคุณภาพตํ่า ควรมีการส่งเสริมสนับสนุน
ในการทํายางแผ่นคุณภาพดีเพื่อส่งให้ตลาดในราคาสูง
9) ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่ สกย. กับเจ้าของสวน/ลูกจ้าง มีเวทีกลางทางวิชาการ
ให้กับเจ้าของสวน ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่มาดูแลสวน ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ เทคนิคในการ
ทําสวนยางพารา หรือข่าวสารต่างๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
10) สกย.มีการสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่แต่ไม่มีการต่อยอด คือ มีการส่งเสริมเทคโนโลยีสมัยใหม่
ให้กับเกษตรกร เมื่อเกษตรกรมีเครื่องมือในการแปรรูปผลผลิต แต่เมื่อได้ผลิตภัณฑ์แล้วไม่มีตลาดในการ
จําหน่าย ควรให้มีเจ้าหน้าที่ สกย. ส่งเสริมเรื่องการตลาดต่อด้วย
11) การกรีดยางพาราต้นยางจะสามารถกรีดได้เมื่อมีอายุประมาณ 7 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์
ของต้นยางพารา แต่ในการให้การสงเคราะห์ของ สกย. มีระยะเวลาเพียง 5 ปี ครึ่งเท่านั้น เกษตรกรหลายรายมี
การเร่งกรีดยาง เพื่อให้เกิดรายได้ก่อนระยะเวลาการกรีดที่เหมาะสม เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียน จึงทําให้
ต้นยางมีอายุการกรีดที่สั้นลง ปริมาณนํ้ายางดิบที่ได้มีปริมาณน้อย และเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหน้ายางตาย ควร
มีการขยายระยะเวลาการสงเคราะห์ให้เพื่อสอดคล้องกับระยะเวลาหรืออายุที่ต้นยางสามารถกรีดได้ เช่น จาก
การสงเคราะห์ในเวลาเพียง 5 ปี เป็น 6-7 ปี เป็นต้น โดยหลังปีที่ 4 เป็นการสนับสนุนปัจจัยการผลิตในรูปปุ๋ ย
เพียงอย่างเดียว ให้เกษตรกรมีทุนในการดูแลต้นยางพารา และจะเป็นการลดปัญหาการกรีดยางก่อนระยะเวลา
ที่เหมาะสมของเกษตรกรลงได้
12) สกย. ควรจัดเจ้าหน้าที่ดูแลและตรวจสอบในขั้นตอนการประมูลยาง คือ เจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง
มาคอยเป็นพี่เลี้ยงในการดําเนินกิจกรรมที่สหกรณ์หรือตลาดที่ประมูลยาง เพื่อความโปร่งใส เช่น ในการขาย
ผลผลิตมีการปลอมปนนํ้ายาง จะมีการเพิ่มนํ้าหนักโดยการใส่ แป้ง ผสมนํ้า ฯลฯ จะต้องได้รับการตรวจสอบ
จากเจ้าหน้าที่ ในกระบวนการขายผลผลิตเกษตรกรเสียเปรียบพ่อค้าควรมีกฎหมายหรือมาตรการที่จะควบคุมผู้
ที่คิดโกงที่ทําให้เกษตรกรส่วนใหญ่เสียหายไปด้วย
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 74