Page 79 -
P. 79
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4) พื้นที่การทํายางพาราของเกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นพื้นที่ของป่าไม้ให้ทําประโยชน์ หรือพื้นที่
ส.ป.ก. หรือพื้นที่เขต ป่าสงวนมีความลาดชันเกิน 35 % ทาง สกย.จะไม่อนุมัติในการให้การสงเคราะห์ปลูก
แทน ทําให้เกษตรกรเสียสิทธิ์ในที่ดินทํากินเพื่อการขอเข้ารับการสงเคราะห์ ควรหาแนวทางร่วมกันในการ
แก้ปัญหาให้กับเกษตรกร เช่น การสร้างเกณฑ์เฉพาะพื้นที่เพื่อจัดการพื้นที่ทํากิน
5) กระบวนการสงเคราะห์เกษตรกรรายย่อย การสนับสนุนปัจจัยการผลิต กระบวนการในการจัดหา
และแจกจ่ ายให้กับเกษตรกรล่าช้า ไม่ตรงกับงวดการดูแลการใส่ปุ๋ ยต้นยางของเกษตรกรชาวสวน ปุ๋ ยที่
เกษตรกรได้รับมีคุณภาพ ตํ่ากว่าปุ๋ ยที่ซื้อร้านค้าทั่วไป ปุ๋ ยปลอมปน จํานวนเงินและปุ๋ ยที่สนับสนุนน้อยไม่
เพียงพอต่อการใช้ในพื้นที่สวนดําเนินการ อยากให้เพิ่มปริมาณการจ่ายปุ๋ ยต่อต้นให้มากขึ้น ที่ผ่านมา การ
สนับสนุน ปัจจัยการผลิตในรูป ปุ๋ ยเคมี พบว่ามีจํานวนไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ เนื่องจาก สกย.
สนับสนุนปุ๋ ยเคมีตามจํานวนของงบประมาณที่กําหนดไว้ คือหากปุ๋ ยเคมีมีราคาเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรก็จะได้รับ
ในปริมาณที่น้อยลง แต่หากปุ๋ ยเคมีมีราคาลดลง เกษตรกรก็จะได้รับปริมาณที่มากขึ้น เป็นต้น ปุ๋ ยมีราคาสูงขึ้น
ทําให้ในบางครั้งเกษตรกรต้องซื้อปุ๋ ยเคมีมาใช้เพิ่มเติมในส่วนที่ขาดไป การสนับสนุนในรูปของเงินสดผ่าน
การจ่ายเป็นงวด พบว่าในบางพื้นที่จะให้การสนับสนุนเป็นเงินสดแก่เกษตรกร ซึ่งเกษตรกรจําเป็นต้องสํารอง
เงินทุนในการซื้อปุ๋ ยเคมีก่อน แล้วจึงนําใบสําคัญรับเงินมาให้กับ สกย.เพื่อแลกเป็นเงินสดกลับไป การ
สนับสนุนในรูปของการโอนเงินหรือปัจจัยการผลิตปุ๋ ย ของ สกย. ควรสอบถามความคิดเห็นหรือความสมัคร
ใจของเกษตรกร/กลุ่ม/องค์กรก่อนที่จะดําเนินการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของ
เกษตรกร
6) จํานวนเจ้าหน้าที่ สกย. ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น สํารวจตรวจสวน มีจํานวนน้อยไม่พอกับ
เกษตรกรและกลุ่ม / องค์กรที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ทําไม่มีความทั่วถึงในการดูแล เช่น การเข้า ตรวจสวนทุก 6
เดือน โดยเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง จึงควรมีการเพิ่มจํานวนเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในการ
ให้บริการด้านต่างๆ ของ สกย. หรือการสร้าง ครูยาง / อาสาสมัคร คลินิกเคลื่อนที่แก้ปัญหาเชิงรุก และปัญหา
การเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่บ่อย ทําให้ขาดการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และขาดความต่อเนื่อง เกษตรกรต้อง
เริ่มต้นเล่าปัญหาใหม่ให้เจ้าหน้าที่ สกย. คนใหม่ที่ลงไปทํางานในพื้นที่ ซึ่งในแต่ละครั้งการรับฟังปัญหาของ
เกษตรกรแล้ว เปลี่ยนเป็นเจ้าหน้าที่คนใหม่ทําให้เกษตรกรต้องเริ่มเล่าปัญหากับเจ้าหน้าที่คนใหม่ไปเรื่อยๆ
และปัญหาของเกษตรกรก็ไม่ได้รับการแก้ไข การลงพื้นที่ดูแลของเจ้าหน้าที่จาก สกย. ควรมีความต่อเนื่องใน
การส่งเสริมและการติดตามความก้าวหน้า เมื่อเกิดปัญหา จะสามารถ แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่าง ทันต่อ
เหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ของ สกย. ควรมีการลงพื้นที่เพื่อส่งเสริมและติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้
ทันต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น หากจํานวนบุคลากรในการลงพื้นที่ไม่เพียงพอนั้น ควรเปิดรับเจ้าหน้าที่
เพิ่มเติม และควรมีการส่งเสริมด้านความรู้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการป้องกันกําจัดโรค
ต่างๆ
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 73