Page 78 -
P. 78

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                 4.7 สรุปผลการประชาพิจารณ์ผลการดําเนินงาน สกย.


                  การประชาพิจารณ์ข้อมูลมีการนําเสนอข้อมูลผลการประเมินให้ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ ซึ่งเป็น

                 ตัวแทนจากทุกจังหวัดที่เป็นพื้นที่ประเมินรับทราบ และร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นและร่วม
                 กระบวนการประชาพิจารณ์ ข้อมูลจากเวทีประชาคมมีข้อสรุปดังนี้


                        1) การทําสวนยางพาราของเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหา ราคาปัจจัยการผลิตสูง ปุ๋ ย ต้นพันธุ์
                 ยางพารา ค่าจ้างแรงงานสูง และขาดแรงงานในการกรีดยาง  คือแรงงานหายาก ส่วนมากเป็นแรงงานต่างด้าว

                 เช่น แรงงานพม่า แรงงานภาคอีสาน ช่วงเวลาที่ไม่มีการกรีดยางแรงงานต่าง ๆ นั้นก็จะกลับไปยังถิ่นฐาน เพื่อ

                 ปลูกยางของตนเองและไม่กลับมาเป็นแรงงานอีก รวมทั้งปัญหาลูกจ้าง/แรงงานไม่มีความซื่อสัตย์ คือมีการลัก
                 ขโมยนํ้ายาง/ผลผลิตยางพาราที่กรีดได้ในแต่ละวันไปจําหน่ายให้กับพ่อค้ารายย่อยในหมู่บ้าน  ควรสร้างความ

                 รักในอาชีพให้กับลูกหลาน เพื่อกลับมาทําสวนยางพาราใช้แรงงานในครัวเรือน ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่น

                 สู่รุ่น

                        2) ต้นพันธุ์ยางพารา สําหรับต้นพันธุ์ที่เกษตรกรซื้อจากร้านจําหน่ายทั่วไปนั้น พบว่า ในปีนี้มีราคาสูง

                 มากเฉลี่ยต้นละ 35-40 บาท/ต้น ซึ่งเกษตรกรให้ข้อมูลว่าได้รับการสงเคราะห์จาก สกย. เพียงราคาต้นละ

                 ประมาณ 17 บาทเท่านั้น  ซึ่งต้องใช้ต้นพันธุ์ทั้งหมด 76 ต้น/ไร่ ต้นพันธุ์ที่เกษตรกรซื้อจากร้านจําหน่ายทั่วไป
                 ในราคาสูงนั้นพบว่าไม่มีคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาต้นยางที่สามารถกรีดได้แล้วนั้นให้ปริมาณนํ้ายางน้อย เกษตรกร

                 เสนอให้มีการเพาะพันธุ์โดยการใช้เมล็ด และส่งเสริมให้เกษตรกรดําเนินการเพาะพันธุ์ ยางพารา เพื่อเป็นการ

                 ประหยัดต้นทุนด้านต้นพันธุ์ที่มีราคาแพงได้บ้างในบางส่วน สกย. ควรสนับสนุนหรือจัดหาแหล่งจําหน่าย ต้น

                 พันธุ์ที่ได้มาตรฐานให้กับเกษตรกร

                        3)  โรคและการจัดการ การเกิดโรคระบาดในยางพาราถือเป็นปัญหาที่สําคัญ ซึ่งสร้างความเสียหาย

                 ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่นั้นยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด ซึ่งมักพบการระบาด
                 ทั้งในพื้นที่เก่าและพื้นที่ใหม่ ทําให้เกษตรกรจํานวนหลายรายที่มีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูก เช่น

                 ปรับเปลี่ยนจากการปลูกยางพาราเป็นการปลูกปาล์มนํ้ามันแทน แต่ราคาผลผลิตยางค่อนข้างยังมีราคาสูงทําให้

                 ยังคงทํายางพาราต่อ สําหรับโรคระบาดที่เกษตรกรพบในสวนยางพารา เช่น ต้นยางตายยอด ใบร่วง ต้นยางยืน
                 ต้นตาย หน้ายางตาย โคนเน่า โรครากขาว เกิดขึ้นที่รากและที่โคน เกษตรกรบางรายที่พบปัญหาโรคโคนเน่า

                 หรือต้นยางตายยอด ใช้วิธีการโรยปูนขาวบริเวณรอบๆ โคนต้น พบว่าจะสามารถรักษาต้นยางได้ในระยะหนึ่ง

                 ประมาณ 2 เดือน  และต้นยางจะกลับมามีลักษณะหรือการระบาดของโรคเช่นเดิม  เพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

                 ควรมีการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้รับทราบถึงเทคนิคการ
                 ดูแลรักษาสวนยางพาราใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรโดยตรง




                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 72
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83