Page 81 -
P. 81

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                        13) มีการจัดหาตลาดในการแปรรูปสําหรับผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มขึ้น เช่น ยางแผ่น Compound สร้าง

                 องค์ความรู้เพิ่ม ให้กับเกษตรกร  เพราะการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่มั่นคงแล้ว เกษตรกรสามารถสร้าง
                 มูลค่าเพิ่มให้กับนํ้ายางของตนเองได้ แต่ยังไม่สามารถหาตลาดที่มั่นคงเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้

                        14) ควรมีการสนับสนุนในการจัดตั้งกลุ่ม เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยถ้าขาดการรวมตัวจะไม่มีทุน ไม่

                 มี กําลังต่อรองทั้งในการซื้อปัจจัยการผลิต และการขายผลผลิต ซึ่งจะต่างจากเกษตรกรรายใหญ่ที่มีพื้นที่มาก
                 ถึงแม้ว่าไม่เข้ารวมกลุ่มก็สามารถต่อรองกับพ่อค้าได้เนื่องจากการซื้อปัจจัยการผลิตและการขายผลผลิตมี

                 จํานวนมากต่อครั้ง การรวมตัวของเกษตรกรในลักษณะกลุ่ม/องค์กรทําให้มีอํานาจในการต่อรองได้ และ

                 ระยะทางในการขนส่งผลผลิตยางพารามีค่าขนส่งสูง เนื่องจากมีความห่างไกล จําเป็นต้องใช้ระบบกลุ่มในการ
                 จัดการผลผลิตก่อนส่งตลาด และใช้ ระบบกลุ่มในการเรียนรู้และแบ่งปัน  ประสานความร่วมมื อเพื่อพัฒนา

                 อาชีพการทําสวนยางพาราต่อไป

                        15)  ควรมีการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จําเป็น สนับสนุน โรงเก็บยางพาราของกลุ่ม/องค์กร

                 จัดหาแหล่งเงิน ทุนหมุนเวียนระยะสั้น ดอกเบี้ยตํ่า เพื่อส่งเสริม อาชีพให้กับสมาชิก หรือแนวทางในการ ขอ
                 สนับสนุนเงินงบจากท้องถิ่น (อปท ,อบต.) เพื่อต่อเติมอาคาร ที่อยู่ในหมู่บ้าน เพื่อเป็นประโยชน์กับคน

                 ส่วนรวมในหมู่บ้าน การสนับสนุนระบบกลุ่ม/องค์กร สถานที่ โรงเก็บผลผลิตไม่เพียงพอสําหรับผลผลิตของ

                 สมาชิกกลุ่ม
                        16)  ขาดผู้สืบทอดในการทําสวนยางรุ่นต่อไป เนื่องจากพ่อแม่ส่งลูกให้เรียนหนังสือแล้วมีค่านิยมใน

                 การไปประกอบอาชีพอื่น เช่น พนักงานขายตามห้างร้านต่างๆ  เมื่อเปรียบเทียบรายได้ที่ได้รับน้อยกว่าอาชีพ

                 การทํายางพาราหรือรายได้ จากการกรีดยาง  แต่กลับเป็นค่านิยมของคนรุ่นลูกรุ่นหลาน  เมื่อลูกไม่กลับมาทํา

                 สวนยางพาราทําให้ไม่มีคนรับช่วงในการทําสวนต่อไปได้ พ่อแม่จึงตัดสินใจขายที่ดินนั้นเสีย  ควรมีการหา
                 มาตรการในการทําให้เกษตรกรไม่ขายที่ดินทํากิน และยุวเกษตรกลับมาทําสวนยางต่อสร้างความมั่นคงให้กับ

                 ตนเองและครอบครัว

                        จากกระบวนการการทําประชาพิจารณ์มีการสรุปแนวทางในการพัฒนา  4  ประเด็น และร่วมกัน

                 ลงคะแนนโดยใช้เกณฑ์ความเป็นไปได้ในการพัฒนา ความจําเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนา พบว่ามีการให้

                 ความสําคัญตามลําดับ ดังนี้

                        1) การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการผลิต การจัดการ และการตลาด


                        2)  การพัฒนาการให้บริการของ สกย. เช่นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการให้บริการของ สกย.
                 กระบวนการ ขั้นตอนในการให้บริการ การสงเคราะห์การปลูกแทน ฯลฯ


                        3) การพัฒนาความรู้เพื่อการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

                        4) การจัดการพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เพื่อเข้าสู่ระบบการสงเคราะห์การปลูกแทน




                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 75
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86