Page 76 -
P. 76
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) การจัดการสวนพ้นสงเคราะห์ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเน้นการดูแลรักษา เช่น การใส่ปุ๋ ยตามงวด
การกรีดยาง เกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยจะใช้แรงงานในครัวเรือน แต่ส่วนใหญ่จะจ้างแรงงานมากกว่า ในการดูแล
รักษาสวนยางพารา การกรีดยางพารา
4) เกษตรกรในพื้นที่มีการผลิตยาง และเก็บผลผลิตในรูปแบบยางถ้วย และขี้ยาง ส่งขายให้กับพ่อค้า
และตลาดทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมส่งผลผลิตในระบบกลุ่ม จะมีการจัดการผลผลิตโดยการทํา
ยางแผ่นดิบ ส่งให้กับกลุ่ม/สหกรณ์ และส่งต่อให้ตลาดกลางยางพารา สู่การประมูลยางต่อไป
5) การจัดการความรู้ เกษตรกรมีการปลูกพืชแซมในช่วงยางพาราอายุน้อยเพื่อสร้างรายได้ ตั้งแต่เริ่ม
ปลูก ถึงอายุยางพารา 3 ปี โดยส่วนใหญ่ปลูกสับปะรด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 11 เดือน ฟักทอง พริกไทย
กล้วย มังคุด มันสําปะหลัง (เดิมไม่ส่งเสริมให้ปลูก เพราะแย่งปุ๋ ยยางพารา) ไม้ยืนต้น ไม้โตเร็ ว (มะฮอกกานี
ปริศนา) ในการอบรมการกรีดยางพารา เกษตรกรบางรายมีการส่งแรงงานกรีดเข้าอบรมโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่
มีความรู้และประสบการณ์ในการกรีดยางพารามาแล้ว เข้าไปอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และ
ศึกษาเทคนิคใหม่ๆ หลักการต่างๆ ทางวิชาการ การจ้างแรงงานมีการแบ่งผลประโยชน์มีลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1)
เจ้าของสวน: แรงงาน ในอัตราส่วน 60 : 40 โดยเจ้าของจะจ่ายปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่นปุ๋ ย สารเคมี หรือ
ร่วมกันจ่ายปัจจัยการผลิต ในอัตราส่วน 60: 40 เช่นกัน 2) เจ้าของสวน: แรงงาน ในอัตราส่วน 50: 50 ร่วมกัน
จ่ายปัจจัยการผลิต ในอัตราส่วน 50: 50 และ 3) เจ้าของสวน: แรงงาน ในอัตราส่วน 63: 37 โดยเจ้าของจะจ่าย
ปัจจัยการผลิตต่างๆ ทั้งหมด
ความรู้ และการได้รับความรู้ เกษตรกรได้รับความรู้ด้านการกรีดยางพารา ส่วนมากมีความรู้อยู่แล้ว
เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพิ่มขึ้น และมีการถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกจ้าง(แรงงานกรีดยางพารา)
ความรู้การขยายพันธุ์ยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะซื้อต้นพันธุ์มาปลูก การวิเคราะห์
ดิน และใส่ปุ๋ ยตามค่าวิเคราะห์ มีการตรวจวิเคราะห์ แต่ยังไม่มีการนําไปใช้ การแจกเอกสารเผยแพร่ความรู้ ยัง
มีน้อย
การตลาดยางพารา ผลผลิตยางพาราของเกษตรกรส่วนใหญ่ขายให้กับพ่อค้าในตลาดทั่วไป ใน
รูปแบบ นํ้ายางพารา กิโลกรัมละ 93 บาท ยางแผ่นดิบ กิโลกรัมละ 105-110 บาท และเกษตรกรส่วนใหญ่ทํา
ยางถ้วย/เศษยาง 70-80 บาท (ข้อมูลกรกฏาคม 2553) การทํายางในรูปแบบยางถ้วย ขี้ยาง เนื่องจากไม่มีความ
ยุ่งยาก มีความสะดวกรวดเร็ว และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ไม่ใช้สารเคมีมากเหมือนการทําแผ่นดิบ/
ยางรมควัน) ง่ายต่อการจัดการ ต้นทุนตํ่า(ข้อมูลจากเกษตรกร ทดลองเก็บผลผลิตยางพารา 3 วัน ทํายางแผ่นดิบ
ส่งขาย เกษตรกรมีรายได้ไม่หักค่าใช้จ่าย 10,060 บาท เปรียบเทียบกับการเก็บผลผลิตยางพารา 3 วัน และขาย
ในรูปยางถ้วย ขี้ยางได้เงินโดยไม่หักค่าใช้จ่าย 10,000 บาท) การขายในรูปแบบยางถ้วย ขี้ยาง สามารถลด
ต้นทุนเวลา แรงงาน ได้รับเงินเร็ว 3 วัน นําผลผลิตขายและได้รับเงิน สหกรณ์จะรับซื้อยางแผ่น มีบางสหกรณ์
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 70