Page 74 -
P. 74
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10) ควรมีการจัดการโดยใช้ระบบกลุ่มอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกระบวนการ รวมกลุ่ม การ
ขายผลผลิตนํ้ายางผ่านระบบกลุ่ม/สหกรณ์ ความเข้มแข็งของกลุ่มเพื่อให้เกิดการต่อรอง และสร้างเครือข่าย
กลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
11) ความรู้เพิ่มเติมกับเกษตรกรในการโค่นยางพารา เพราะเกษตรกรเสียเปรียบพ่อค้ารับซื้อไม้ยาง
อาจทําเป็นราคากลางให้เกษตรกรว่ามาตรฐานด้านราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตร กรได้ตัดสินใจว่าในการขาย
ผลผลิตไม้ยางพารา
จังหวัดจันทบุรี เกษตรกร ตัวแทนสถาบันเกษตรกร เกษตรกรรายย่อย พ่อค้า นักวิชาการ และ
ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่เป็นอย่างดี มีข้อเท็จจริง และแนวทางใน
การพัฒนา ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรสวนดําเนินการ ให้ข้อมูลว่าควรมีการประชาสัมพันธ์การให้บริการของ สกย.
ให้มากขึ้น ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายเกษตรกร และในกระบวนการให้การสงเคราะห์ ควรมีการชี้แจงการเตรียม
เอกสารหลักฐานให้มีความชัดเจน มีการประสานงานนัดหมายระหว่างเจ้าหน้าที่และเกษตรกร มีแผน
ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกลุ่มเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ ในกระบวนการยื่นอนุมัติควรมีระยะเวลาที่สั้นลง และ
มีการแจ้งผลความก้าวหน้าให้เกษตรกรทราบ ควรแนะนําพันธุ์ยางที่เหมาะสมกับพื้นที่ให้เกษตรกรเพิ่มเติม มี
การแพร่กระจายเทคโนโลยีพันธุ์ยางพารา ระหว่างกลุ่มเกษตรกรด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่มีการสร้าง
เครือข่ายความรู้ระหว่างกลุ่ม การสนับสนุนปัจจัยการผลิต ปุ๋ ย สําหรับเกษตรกรจะต้องมีการแนะนําวิธีการใช้
ที่มีประสิทธิภาพด้วย การส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้กับเก ษตรกรมีการปลูกพืชแซม เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง
มะละกอ สับปะรด พืชผัก (พริก ผัก มะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว) และมันสําปะหลัง ซึ่งเดิมไม่ส่งเสริมให้มีการ
ปลูกมันสําปะหลังเพราะคิดว่ามีการดึงแร่ธาตุในดินมากจะทําให้ยางพาราไม่เจริญเติบโต
ปัจจุบันเกษตรกรนิยมขายผลผลิตยางพาราในรูปแบบยางถ้วย ขี้ยาง เพราะจัดการง่าย ไม่มี ความ
ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย มีต้นทุนตํ่ากว่าการทํายางแผ่น และสหกรณ์มีการรับซื้อเฉพาะนํ้ายาง ยางแผ่น จึงมีความ
ต้องการให้กลุ่ม/สหกรณ์รับซื้อผลผลิตยางพารา ในรูปยางถ้วย ขี้ยาง ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรขายผลผลิตให้กับ
พ่อค้า/ตลาดรับซื้อยางพาราทั่วไป
เกษตรกรประสบปัญหาค่าจ้างแรงงานดูแลรักษา และจ้างกรีดยางพาราค่อนข้างสูง มีการจ้างแรงงาน
กรีดแบบสัดส่วน ทําให้การดูแลสวนโดยแรงงานเป็นส่วนใหญ่ และในการประสานงานกับ สกย. เกษตรกร
บางคนไม่ได้ประสานงานเอง มีการส่งตัวแทนในการติดต่อกับหน่วยงาน ทําให้ไม่ทราบข่าวสารต่างๆ และ
ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น เช่น ต้นพันธุ์ยางพาราเพิ่มขึ้นประมาณ 2 0% จาก 1-3 ปีที่ผ่านมาราคาต้นละ 13-18
บาท ปัจจุบันราคาต้นละประมาณ 30 บาท ราคาปุ๋ ยสูตร 25-8-18 จากราคาประมาณ 12 บาท/กิโลกรัม ปัจจุบัน
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 68