Page 70 -
P. 70
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จังหวัดภูเก็ต เกษตรกร ตัวแทนสถาบันเกษตรกร เกษตรกรรายย่อย พ่อค้า นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง
อื่นๆ ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่เป็นอย่างดี เกษตรกรค่อนข้างมีฐานะและการศึกษาดี
การจัดการสวนพบว่าเกษตรกร ส่วนใหญ่ไม่ได้ทําสวนยางเป็นอาชีพหลัก ทําให้ไม่มีเวลาไปติดต่อ สกย. แต่
พบว่ามีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ สกย. ในระดับมาก ลักษณะของสวนยางพารามีการจ้างผู้จัดการ
สวนในการดูแล เกษตรกรมีการเปลี่ยนการใช้ที่ดินไปทํากิจกรรมอื่นค่อนข้างมาก การทําสวนยางพารามี
สัดส่วนค่าจ้าง 60:40 ในพื้นที่ราบ และ 50:50 ในพื้นที่ดอน โดยเจ้าของสวนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายปัจจัยการ
ผลิตปุ๋ ย และต้นพันธุ์ยางพารา แรงงานจะดูแลรักษาถางหญ้าและกรีดยางพารา ในพื้นที่มีโรงรมที่ไม่ค่อยมีการ
ดําเนินการ/ไม่มีกิจกรรม เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน และการก่อสร้างปรับปรุงพื้นที่มีราคาค่อนข้างสูง
เกษตรกรส่วนใหญ่ขายนํ้ายางดิบ ขายยางแผ่นดิบ และเศษยาง การกรีดยางมีตั้งแต่สอง และสามหน้า กรีดแบบ
สองวันเว้นวันและสามวันเว้นวัน พ่อค้า ยางในท้องถิ่นเป็นพ่อค้ารายย่อย รับซื้อยางแผ่นดิบและเศษยางจาก
เกษตรกรและกลุ่มโดยตรง นําผลผลิตไปขายต่อให้พ่อค้ารายใหญ่ เกษตรกรมีการปลูกสับปะรดเป็นพืชแซม
ในขณะยางอายุน้อย เกษตรกรเป็นสวนพ้นสงเคราะห์ค่อนข้างมากมีโยกย้ายออกนอกพื้นที่ การติดตาม
เกษตรกรเจ้าของสวนค่อนข้างยากในส่วนของเกษตรกรสวนพ้นสงเคราะห์ เกษตรกรบางรายมีความรู้ ด้าน
การจัดการโรค เชื้อราค่อนข้างมาก
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการให้บริการของ สกย.ในระดับที่มาก แต่มีปัญหาและ
แนวทางในการพัฒนา ดังนี้
1) การประชาสัมพันธ์ เกษตรกรไม่ได้รับข่าวสารการให้บริการจาก สกย. อย่างทั่วถึง และการ
ประชาสัมพันธ์บางครั้งมีความล่าช้า เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ผ่านเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จํานวนเจ้าหน้าที่มี
น้อย และพบว่าหลังการพ้นสงเคราะห์เกษตรกรจะได้รับข้อมูลข่าวสารหรือการสนับสนุนจากทาง สกย.
รวมทั้งการติดตามผลค่อนข้างน้อยมาก ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารควรมีการปรับปรุงเพิ่มช่องทาง
ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น ทางไปรษณีย์ เอกสาร แผ่นพับ และเน้นกา ร
ประชาสัมพันธ์ที่ทันต่อเหตุการณ์ เช่น สภาพภูมิอากาศ โรค แมลง เพื่อการจัดการอย่างเป็นระบบและการ
แก้ปัญหาตรงประเด็นต่อไป
2) เกษตรกรประสบปัญหาด้านการขาดแคลนพันธุ์ และต้นพันธุ์ยางพารา ปุ๋ ยมีราคาแพง และขาด
แหล่งในการซื้อปุ๋ ยเคมี ปุ๋ ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพ สําหรับใ ห้การสนับสนุนปัจจัยผลิตในรูปปุ๋ ย ไม่เพียงพอใช้ใน
สวนดําเนินการ เกษตรกรจําเป็นต้องซื้อเพิ่ม มีความต้องการเงินสงเคราะห์ต่อไร่สูงขึ้น จัดหาสนับสนุนต้น
พันธุ์ยางและปุ๋ ยที่ดีมีคุณภาพ และต้องการใช้ชีวภาพแทนสารเคมีเพราะมีราคาสูง เกษตรกรคว รตระหนักถึง
พิษภัยต่อสิ่งแวดล้อม ควรมีการปรับปรุงเรื่องการโอนเงิน ความไม่ชัดเจนเรื่อง จํานวนที่แจ้งและจํานวนเงินที่
โอน โอนเงินล่าช้า ไม่ตรงจํานวนที่บอกไว้ มีบางรายพบว่า การจ่ายเงินไม่ตรงเวลา การรังวัดพื้นที่ และจํานวน
ต้นปลูกไม่สัมพันธ์กัน
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 64