Page 73 -
P. 73

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                        3)  การสนับสนุนการทําสวนสงเคราะห์ เกษตรกรมีความต้องการรับเงินแทนการจ่ายในรูปปุ๋ ย มีบาง

                 กลุ่มประมูลปุ๋ ยมาให้เกษตรกร ซึ่งปุ๋ ยไม่ค่อยได้มาตรฐาน การอนุมัติปุ๋ ย ช้ามากในบางพื้นที่ เกษตรกรบางราย

                 มีพื้นที่เท่ากัน แต่ได้รับปุ๋ ยไม่เท่าทําให้เกิดข้อสงสัย เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงและสร้างความเข้าใจร่วมกัน

                        4) ความรู้ การฝึกอบรม เกษตรกรไม่ค่อยได้เข้าร่วมอบรม เนื่องจากไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร หรือ

                 เกษตรกรมีอายุมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง หรือไม่ได้อบรมด้วยตนเองให้ลูกหลานไปอบรมแทน เกษตรกร

                 ต้องการให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราให้มีผลผลิตนํ้ายางสูงขึ้น การส่งเสริมพันธุ์ที่พัฒนาแล้วให้ผลผลิตนํ้า
                 ยางน้อยจะเกิดผลเสียหายต่อเกษตรกรอย่างมาก ควรเร่งวิจัยการแก้ไขปัญหาพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตนํ้ายางไม่

                 ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจและลดภาระ ให้กับเกษตรกร และปัจจุบันต้นทุนพันธุ์ยางแพงขึ้นมากอยากให้

                 เพิ่มการอบรมการขยายพันธุ์ยางพาราให้กับเกษตรกร การปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ การคัดเกรดยางพารา

                 และควรจัดอบรมเรื่องโรคยางพาราให้มากขึ้น มีการจัดการศึกษาดูงานนอกสถานที่   จัดเสวนา ประชุมทาง
                 วิชาการเพิ่มขึ้น ควรให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกพืชให้เหมาะกับสภาพดินเนื่องจากบางพื้นที่เป็นที่นาข้าว

                 แต่เกษตรกรใช้พื้นที่ในการปลูกยางพารา

                        5) เจ้าหน้าที่ควรมีการดูแลตรวจสวนในพื้นที่ และให้คําแนะนําให้ตรงกับปัญหา บูรณาการหน่วยงาน

                 ราชการที่เกี่ยวข้องให้ทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ดูแลการตลาดตรวจสอบการรับซื้อนํ้ายาง ทั้งปริมาณและ

                 คุณภาพ ควรมีการจัดระบบขึ้นทะเบียนพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อนํ้ายางในหมู่บ้านเพื่อให้เกิดราคาที่เป็นธรรมแก่
                 เกษตรกรชาวสวนยางพารา


                        6) การสนับสนุนในระบบกลุ่ม สกย. เพิ่มการสนับสนุนเครื่องจักร การลงทุนโรงเรือน เพื่อให้

                 เกษตรกร ยืม หรือเช่า เพื่อลดต้นทุน

                        7) ด้านสถานที่พบว่ามีข้อคิดเห็นว่าพื้นที่จอดรถและห้องนํ้า ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงที่มารับ

                 บริการ พร้อมๆ กัน บางหมู่บ้านอยู่ไกลทําให้เดินทางติดต่อไม่สะดวก

                        8) ด้านการตลาด เกษตรกรไม่มีสถานที่รวบรวมนํ้ายางในหมู่บ้าน ราคาของพ่อค้ากับกลุ่มเกษตรหรือ

                 สถาบันไม่ตรงกัน ทําให้เกษตรกรในกลุ่ม ย้ายไปขายนํ้ายางให้พ่อค้าที่ราคาสูงกว่า ระบบกลุ่มล้มเหลว ส่งผล

                 ถึงการรวบรวมผลผลิต ตลาด ผู้รับซื้อในที่สุด เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวโน้มตลาด ราคาปริมาณ
                 นํ้ายางสด รวมถึงตลาดล่วงหน้าน้อย


                        9) ขยายการให้การสงเคราะห์การทําสวนยางของ สกย. เป็นระยะเวลา  7  ปี เพื่อให้เกษตรกรไม่กรีด
                 ยางก่อนกําหนด แก้ปัญหากรีดยางเร็ว ไม่ได้ขนาด








                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 67
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78