Page 68 -
P. 68
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จังหวัดระนอง เกษตรกร ตัวแทนสถาบันเกษตรกร เกษตรกรรายย่อย พ่อค้า นักวิชาการ และ
ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่เป็นอย่างดี เกษตรกรมีการจัดการสวนอย่าง
เป็นระบบ และสนใจในกิจกรรมต่างๆ ของ สกย. สภาพแวดล้อมเป็นภูเขามีฝนตกเป็นส่วนมาก อากาศชื้น
การทํายางแผ่นรมควัน จึงไม่ค่อนประสบความสําเร็จ กลุ่มสถาบันมีการรวมตัวกันค่อนข้างเข้มแข็งและให้
ความร่วมมือเป็นอย่างดี พบว่าพื้นที่จังหวัดระนองมีปัญหาเรื่อง เอกสารสิทธิ์ที่ดิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ภูเขา มี
การซ้อนทับเขตป่าสงวน และเขตพื้นที่ ส.ป.ก. ทําให้มีกระบวนการยุ่งยาก และเกษตรกรเสียสิทธิ์ในการเข้า
รับการสงเคราะห์ พื้นที่มีฝนค่อนข้างชุก การจ้างแรงงานเกษตรกรส่วนใหญ่จ้างแรงงานพม่าและอีสานดูแล
สวนและกรีดยางพารา มีสัดส่วนค่าจ้าง 60:40 โดยเจ้าของสวนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายด้านปัจจัยการผลิต ต้น
พันธุ์ ปุ๋ ย แรงงานดูแลรักษา กรีดยางพารา และกระบวนการทํายางแผ่นดิบ ในการดูแลรักษาแมลงศัตรูพืชที่
พบคือปลวกดํา เกษตรกรที่เป็นมุสลิม จะมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น ค้าขาย ประมง นอกเหนือจากการทําสวนยางทํา
ให้การจัดการสวน อาจลดความสําคัญลงกว่า กิจกรรมหรืออาชีพอื่น
พ่อค้าตลาดยางพาราในพื้นที่ ใช้พื้นที่ตลาดของสหกรณ์ซึ่งเป็นที่เดิมที่มีกิจกรรมอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น
ปาล์ม และไม้ผลอยู่แล้วเป็นตลาดในการซื้อขาย ไม่ได้ใช้พื้นที่สํานักงาน สกย.เป็นตลาดโดยตรง พ่อค้าที่เป็น
ตัวแทนพบว่า เป็นพ่อค้ารายย่อย รับซื้อเศษยางและยางแผ่นดิบ และพ่อค้าได้พบปะเจ้าหน้าที่ สกย ในการจัด
ประชุม อบรม ผู้ซื้อพบผู้ขายเท่านั้น นอกนั้นเป็นการรับข้อมูลด้านราคาและปริมาณยาง
เกษตรกรมีความคิดเห็นถึงผลการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการให้บริการของ
สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) พบว่าให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่าง
ดี มีความสนใจและเข้าใจระบบการทํางานของ สกย. สภาพสวนของเกษตรกรโดยภาพรวม มีการจัดการสวน
เป็นอย่างดี และมีความพึงพอใจการให้บริการของ สกย.ในระดับที่ดี เกษตรกรมีปัญหาต่างๆ ดังนี้
1) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในการให้บริการของ สกย. ยังไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่ และมีปัญหา
ด้านระยะทางการติดต่อขอรับบริการเนื่องจากสํานักงานอยู่ไกล ไม่สะดวกในการเดินทาง รวมถึงการ
ให้บริการเกษตรกรสวนพ้นสงเคราะห์การได้รับข้อมูลประชาสัมพันธ์ไม่ค่อยทั่วถึง และขาดความต่อเนื่องใน
การให้บริการ ทําให้ขาดความรู้ในการดูแลรักษาสวนพ้นสงเคราะห์ ในทางปฏิบัติควรมีการกระจายการ
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการให้บริการให้ทั่วถึงกับเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มหลังพ้นสงเคราะห์
ให้มากยิ่งขึ้น สําหรับเกษตรกรในกลุ่มมุสลิมที่อยู่ห่างไกลควรมีการอธิบายและชี้แจงให้ชัดเจนและดูแลให้
ทั่วถึง
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 62