Page 66 -
P. 66

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                        เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวน

                 ยาง (สกย.) และให้ความร่วมมือในการตอบแบบสัมภาษณ์เป็นอย่างดี เกษตรกรส่วนใหญ่มีการจัดการสวน

                 สงเคราะห์ และสวนพ้นสงเคราะห์ตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ สกย. มีความพึงพอใจการให้บริการของ สกย.

                 มีความสนใจและเข้าใจในระบบการทํางานของ สกย. เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการทํางานในภาพรวมของ
                 สกย. ดังนี้


                        1) การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารการให้บริการของ สกย. เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจใน

                 การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มาก โดยให้ความคิดเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของ สกย. เป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถให้
                 ความรู้ และอธิบายรายละเอียดให้เกษตรกรเข้าใจได้อย่างดี  แต่อาจมีบ้างที่การให้คําชี้แจงแนะนําค่อนข้าง

                 ล่าช้าและไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ในบางพื้นที่  อยากให้มีการใช้ช่องทางจดหมายข่าวหรือวิทยุชุมชนใน

                 การกระจายข่าวหรือข้อมูลต่างๆ ในการให้บริการของ สกย.

                        2) การให้บริการในการสํารวจรังวัดพื้นที่ เจ้าหน้าที่นัดหมายในการรังวัดพื้นที่หลายรายพร้อมกัน ทํา

                 ให้เกษตรกรบางรายเจ้าหน้าที่มาถึงสวนเลยเวลานัดหมาย และในการให้บริการของเจ้าหน้าที่บางรายใช้เวลา
                 ค่อนข้างนาน ที่ตั้งของสวนยางอยู่ค่อนข้างห่างไกลทําให้การมาถึงแปลงเกษตรกรล่าช้า ในภาพรวมเกษตรกร

                 ยอมรับได้ในข้อจํากัด และการมีพื้นที่เป็นเนินเขาทําให้การรังวัดมีพื้นที่น้อยกว่าพื้นที่จริง พื้นที่ของเกษตรกร

                 ลดไปค่อนข้างมาก เจ้าหน้าที่ต้องทําความเข้าใจร่วมกันกับเจ้าของสวนยางพารา

                        3) การได้รับการสงเคราะห์การปลูกแทน การจ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทน เกษตรกรบางส่วนเห็นว่า

                 การจ่ายเงินสงเคราะห์ไม่ตรงตามเวลา และในการจ่ายเป็นปัจจัยการผลิตเกษตรกรต้องเสียเวลาในการเดินทาง

                 และประสานกับกลุ่มเพื่อรับปัจจัยการผลิต ปุ๋ ยเคมี ปุ๋ ยอินทรีย์ บางส่วนมีความต้องการในการซื้อปัจจัยการ

                 ผลิตเอง โดยการโอนเงินงวดแทนปุ๋ ยที่ สกย. จัดให้ สําหรับพันธุ์ยางพาราเกษตรกรอยากได้ต้นพันธุ์ยางที่ดีมี
                 คุณภาพ และต้องการให้มีการวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์ยางพาราที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ และมีความคิดเห็นว่า

                 เกษตรกรบางรายใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ของ สกย.

                        4) การจัดการสวนสงเคราะห์ ด้านปัจจัยการผลิต การใส่ปุ๋ ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การปลอมปนปุ๋ ย

                 คุณภาพของปุ๋ ยเคมี ปุ๋ ยอินทรีย์ การจัดการเรื่องโรค เช่น โรครากขาวโดยการให้คําแนะนําแก่เกษตรกร การ

                 ส่งเสริมการจัดการสวนยาง และการดูแลรักษา เพราะเกษตรกรบางส่วนยังมีการจัดการสวนยางพาราไม่
                 ถูกต้อง  โดยเฉพาะการจัดการเพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันโรครากขาว











                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 60
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71