Page 61 -
P. 61
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) การจ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทน ในรูปปัจจัยการผลิตปุ๋ ยเคมี เกษตรกรบางส่วนมีความเห็นว่าควร
จ่ายในรูปเงินสงเคราะห์แทน ในกรณีจ่ายในรูปปุ๋ ยเคมีควรมีการวิเคราะห์ดินในแต่ละรายและแนะนําการใส่
ปุ๋ ยตามค่าดินที่วิเคราะห์ และควรเพิ่มปริมาณปุ๋ ยเคมีเป็น 2 เท่า เพื่อเพียงพอในการดูแลสวนยางพาราของ
เกษตรกร และจะต้องจ่ายปุ๋ ยเคมีให้ตรงเวลา ตามช่วงฤดูก่อนฝน และความต้องการใส่ปุ๋ ยของเกษตรกร ควร
เพิ่มวงเงินในการให้สงเคราะห์ เพราะต้นทุนในการทําสวนยางพาราเพิ่มสูงขึ้น และแก้ปัญหาต้นกล้ายางพารา
ราคาสูงโดยความร่วมมือจาก สกย. ในการขยายพันธุ์กล้ายางพาราในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป และจัดหา
กล้ายางให้ในส่วนที่ต้องซ่อมแซมต้นที่ตายสนับสนุนให้กับเกษตรกรสวนสงเคราะห์ หรือเป็นผู้ออก
ใบรับรองกล้ายางให้กับเจ้าของแปลงกล้ายางพารา
4) เกษตรกรมีความต้องการให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ เทคนิคต่างๆ ในการทํา
สวนยางพาราระหว่างเกษตรกรด้วยกันเอง เจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และมีการศึกษาดูงานในสวนของเอกชน
หรือสวนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จัดให้มีเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการสวนยางพาราให้มากขึ้น
และมีความหลากหลาย ตรงตามความต้องการ และสภาวการณ์ที่เกษตรกรประสบปัญหา เช่น ปัญหาเรื่องโรค
แมลงศัตรูยางพารา
5) เกษตรกรที่มีพื้นที่ทําสวนยางพาราขาดแรงงานที่มีคุณภาพในการดูแลสวน และกรีดยางพารา
เกษตรกรส่วนใหญ่จ้างแรงงาน และประสบปัญหาค่าจ้างสูงและแรงงานไม่มีคุณภาพ เกษตรกรบางราย
ประสบปัญหาการขโมยผลผลิตไปขายโดยแรงงาน จึงมีความต้องการให้มีการจัดอบรมเรื่องเทคนิคการกรีด
ยางพาราในหลักสูตรที่มีความเข้มข้นให้กับลูกหลานเกษตรกรให้มากขึ้น
6) ในการรังวัดพื้นที่สวนดําเนินการของเจ้าหน้าที่ ยังขาดการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่าง
เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ลาดชัน ทําให้เกษตรกรเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ไม่รังวัดเต็มพื้นที่ และการให้บริการ
ของเจ้าหน้าที่ ยังมีความเสมอภาคในการให้บริการกับเกษตรกรไม่ทั่วถึง ประกอบกับจํานวนเจ้าหน้าที่ สกย.
ให้บริการน้อย แต่รับผิดชอบพื้นที่ให้บริการมาก จึงควรเพิ่มจํานวนเจ้าหน้าที่ สกย. ที่ให้บริการในพื้นที่ให้
มากขึ้น และมีการเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร รวมทั้งควรมีการสนับสนุนการสงเคราะห์เกษตรกร
อย่างสมํ่าเสมอ และให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ทํางานด้วยกัน เพื่อลดความซํ้าซ้อนของงาน และเพื่อความเข้าใจที่
ตรงกันของเกษตรกร มีการติดตามผลสวนยางพาราที่พ้นสงเคราะห์อย่างต่อเนื่องด้วย
7) เกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลผลิตในรูปยางก้อน ขี้ยาง ให้กับพ่อค้าในท้องถิ่น ทําให้การรวมกลุ่ม
สหกรณ์ที่รับซื้อผลผลิตของ สกย.ไม่มีผลผลิตยางพาราในตลาดกลางมากนัก
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 55