Page 58 -
P. 58

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                        อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการรับบริการจาก สกย. ในการเข้าร่วมสงเคราะห์การทําสวนยาง เกษตรกร

                 บางส่วนไม่เข้าใจในข้อจํากัดเรื่องพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ คือการมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่จะขอรับการ

                 สงเคราะห์ เพราะเกษตรกรบางรายทํากิน(ปลูกยางพารา)ในพื้นที่ ส.ป.ก. ป่าไม้ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่มีเอกสาร
                 สิทธิ์ และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในการให้บริการของ สกย. ข้อมูลในการเข้าร่วมโครงการ

                 หลักเกณฑ์ต่างๆ ข้อควรปฏิบัติ ยังไม่ทั่วถึง เกษตรกรในบางพื้นที่ไม่มีโทรศัพท์ใช้และที่ตั้งบ้าน เรือนอยู่ไกล

                 เส้นทางเข้าถึงยาก ทําให้ขาดการรับรู้ข่าวสารในการให้บริการต่างๆ และการบริการด้านการอบรมให้ความรู้

                 ทําให้ไม่ได้เข้าร่วมรับบริการในโครงการต่างๆ และโครงการอบรมของ สกย. ตามต้องการ และในบาง
                 หลักสูตร เช่น การทํายางแผ่นชั้นดีไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลผลิตใน

                 รูปยางถ้วยหรือขี้ยาง นอกจากนี้ในการติดต่อประสานงานสถานที่ตั้งสํานักงานของ สกย. ห่างไกลสําหรับ

                 เกษตรกร คือมีที่ตั้งอยู่ในตัวจังหวัด ทําให้เกษตรกรมีข้อจํากัดในการเข้าร่วมประชุม อบรม และสถานที่จอด
                 รถของสํานักงาน สกย.มีความคับแคบ ไม่เพียงพอ


                        ข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์ต่อการให้บริการของ สกย.

                        1) เกษตรกรมีความต้องการให้หน่วยงานที่ทําหน้าที่ออกเอกสารสิทธิ์ทํางานประสานความร่วมมือกับ

                 สกย. เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับเกษตรกรในการขอรับการสงเคราะห์

                        2) ควรเพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และกระจายข้อมูลข่าวสารในการให้บริการต่างๆ

                 ของ สกย.ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่มากขึ้นกว่าเดิม


                        3) เพิ่มการสนับสนุนปัจจัยการผลิตปุ๋ ยเคมีเป็น 2 เท่า   และควรจ่ายปุ๋ ยให้ตรงเวลาหรือเพิ่มวงเงินใน
                 การสงเคราะห์ให้มากขึ้น เพราะต้นทุนในการทําสวนยางเช่น ค่าพันธุ์ ปุ๋ ยเคมี ปุ๋ ยอินทรีย์ มีราคาสูงขึ้น


                        4) จัดให้มีหน่วยงานที่ขยายพันธุ์กล้ายางพาราในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป    และจัดหากล้า

                 ยางพาราให้ในส่วนที่ต้องซ่อมแซมต้นที่ตาย(สนับสนุนเพิ่ม) หรือเป็นผู้ออกใบรับรองกล้ายางให้กับเจ้าของ
                 แปลงกล้ายางพารา


                        5) การให้บริการของ สกย. ควรมีการขยายเวลาในการสงเคราะห์เพิ่มขึ้น และขยายพื้นที่การ
                 สงเคราะห์ในเกษตรกรแต่ละรายโดยเพิ่มพื้นที่สงเคราะห์ต่อรายมากขึ้น


                        6) ควรเพิ่มจํานวนเจ้าหน้าที่ สกย. ในพื้นที่ให้มากขึ้น และให้เจ้าหน้าที่ดูแลเกษตรกรในพื้นที่ ให้
                 ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับโรค แมลง แนะนําการดูแลรักษา การจัดการสวนยางพารา และเข้ามาส่งเสริมอาชีพเสริม

                 รายได้ให้กับเกษตรกรให้มากขึ้น







                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 52
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63