Page 57 -
P. 57

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                 4.5 ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการให้บริการของ สกย.

                        จากการรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในประเด็นต่างๆ ปัญหาอุปสรรคในการรับบริการ และ

                 ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา ผลสรุปในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้


                        4.5.1 เกษตรกรที่อยู่ระหว่างสงเคราะห์

                        กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่อยู่ระหว่างสงเคราะห์ระบุความคิดเห็นด้านต่างๆ จํานวน 102 คน สรุปข้อมูล

                 ดังนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปลูกยางพาราคือ พันธุ์ยางพารามีราคาแพง เกษตรกรไม่มีแรงงานในการใส่ปุ๋ ย

                 และการกรีดยางพาราซึ่งโดยส่วนใหญ่จ้างแรงงานในการกรีดยางพารา และค่าจ้างแรงงานสูง สําหรับปัญหาที่
                 เกิดขึ้นจากการรับบริการจาก สกย. ในขั้นตอนการตรวจสวนบางครั้งเกษตรกรบางรายไม่ได้รับข่าวสารการ

                 นัดตรวจสวนล่วงหน้าจากเจ้าหน้าที่หรือความคลาดเคลื่อนของเวลาในการนัด จึงไม่ได้เตรียมความพร้อมของ

                 พื้นที่สวนเพื่ออํานวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ ทําให้บางขั้นตอนในการตรวจสวนล่าช้า และการได้รับ
                 รายละเอียดในการตรวจสวนของเกษตรกรยังได้รับข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องมาจากจํานวนเจ้าหน้าที่ไม่

                 เพียงพอกับจํานวนเกษตรกรที่ต้องให้บริการในการตรวจสวน นอกจากนี้ยังมีการจ่ายปัจจัยการผลิตปุ๋ ยเคมีไม่

                 ตรงตามกําหนดเวลามีความล่าช้าทําให้ไม่ทันกับการดูแลรักษาในช่วงฝนตกเพื่อให้ปุ๋ ยและต้นยางพ  ารา
                 นําไปใช้ประโยชน์ได้ และปริมาณปุ๋ ยที่เกษตรกรได้รับไม่เพียงพอสําหรับการให้ปุ๋ ยต้นยางในสวนสงเคราะห์

                 เกษตรกรบางส่วนมีความเห็นว่าปุ๋ ยที่ได้รับมีคุณภาพไม่ตรงตามที่กําหนด สําหรับการให้บริการในการจ่ายเงิน

                 สงเคราะห์การปลูกแทน เกษตรกรมีความเห็นว่าการจ่ายแต่ละงวดบางครั้งไม่ครบตามจํานวน มีน้อยกว่า

                 จํานวน 100 – 200 บาท ซึ่งเจ้าหน้าที่ สกย. ให้ข้อมูลในการจ่ายเงินสงเคราะห์จะครบถ้วนตามจํานวนในงวด
                 สุดท้าย และจํานวนเงินที่เกษตรกรได้รับไม่เพียงพอกับการซื้อปัจจัยการผลิต เพื่อใช้ในสวนสงเคราะห์

                 เกษตรกรจะต้องซื้อปัจจัยการผลิตเองในบางส่วน


                        การได้รับความรู้และการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกร ส่วนใหญ่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง
                 ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในการเข้ารับความรู้ เช่น  การฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ จากการให้บริการของ สกย.

                 อาจเป็นเพราะการสื่อสารข้อมูล การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึงเกษตรกรทุกกลุ่ม มีเกษตรกร

                 เพียงบางกลุ่มที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร และระยะเวลาในการรับทราบข้อมูลข่า  วสารค่อนข้างล่าช้า เกษตรกร
                 บางส่วนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความเห็นว่าการได้รับความรู้การกรีดยางส่วนใหญ่เกษตรกรจะใช้ความ

                 ชํานาญในการกรีดยางที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เช่น การปฏิบัติจากรุ่นปู่ย่า-ตายายสู่รุ่นพ่อแม่ และรุ่น

                 พ่อแม่สู่รุ่นลูก-หลาน แต่ก็ยังคิดว่าการจัดอบรมการกรีดยางมีประโยชน์สําหรับเกษตรกร และแรงงานกรีดยาง
                 ในพื้นที่ เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับสถานการณ์ สําหรับการทํายางแผ่น

                 ชั้นดี ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลผลิตในรูปยางถ้วย ขี้ยางพารา เพราะมีความสะดวก ใช้เวลาน้อย ใน

                 การแปรรูปยางแผ่นมีขั้นตอนยุ่งยาก มีต้นทุนสูงกว่า การกรีดยางและทํายางถ้วยขายเกษตรกรบางส่วนคิดว่า
                 เป็นการแก้ปัญหาการขาดแรงงานกรีดยางและกลับมาใช้แรงงานในครัวเรือนเอง


                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 51
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62