Page 60 -
P. 60

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                        2) การส่งเสริมหรือแนะนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยค่อนข้างน้อย ส่วนมากเกษตรกรจะใช้ความรู้ ความ

                 ชํานาญ และเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม


                        3) ในการให้บริการของ สกย. ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มในทางปฏิบัติ
                 ยังขาดความชัดเจน การรวมกลุ่มส่วนใหญ่เป็นกลุ่มจัดตั้ง ขาดความต่อเนื่องในกิจกรรม และเกษตรกรยังมี

                 จิตสํานึกในความรับผิดชอบต่อกลุ่ม และบทบาทของสมาชิกกลุ่มค่อนข้างน้อย สําหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                 ร่วมกัน เกษตรกรส่วนใหญ่มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเทคนิคการดูแลสวนยางระหว่างเพื่อนบ้านอยู่เสมอ และ
                 เรียนรู้ร่วมกัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเนื่องจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรยังไม่ชัดเจนทําให้ เจ้าหน้าที่

                 สกย.ไม่สามารถพัฒนา เชื่อมโยงเครือข่ายให้กับเกษตรกรได้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเข้ามาส่งเสริมทําให้กลุ่ม

                 เกษตรกรนั้นๆ เกิดความเข้มแข็งมากขึ้นในกรณีที่กลุ่มมีกิจกรรม แต่การสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกร

                 ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก

                        4) เกษตรกรคุ้นเคยกับการขายผลผลิตให้กับพ่อค้ารายย่อยในท้องถิ่น เพราะมีความสะดวก และได้รับ

                 รายได้รวดเร็ว ทําให้ สกย. พัฒนางานด้านการตลาดยางพารายากขึ้น เพราะตลาดกลางจะมีแค่จุดเดียวเท่านั้น
                 ทําให้เกษตรกรที่อยู่ไกลไม่คุ้มค่ากับการขนส่งผลผลิตยางพารามาขาย ต้องรวบรวมไว้ในปริมาณที่มากพอจึง

                 จะคุ้มค่ากับการขนส่ง และการรวมกลุ่มต้องอาศัยเวลา และความสามัคคีในกลุ่ม ในการทํากิจกรรมต่างๆ

                        5) การสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน เช่น การ

                 ใช้ปุ๋ ย การป้องกันกําจัดศัตรูพืช/วัชพืชโดยชีววิธี เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของ สกย. ไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

                 เช่น การจัดการด้านต่างๆ ดิน ปุ๋ ย สารเคมี ฯลฯ ทําให้การสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่

                 ส่งผลชัดเจน และเกษตรกรไม่ให้ความสําคัญเท่าที่ควร

                        การให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 98 คน ต่อปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการ

                 ให้บริการของ สกย. พบว่า

                        1) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึงเกษตรกร ทําให้เกษตรกรไม่ทราบข่าวการให้บริการ

                 ของ สกย. เช่นไม่ทราบข่าวสารด้านการอบรม ทําให้ไม่ได้เข้ารับการอบรม ควรเน้นการประชาสัมพันธ์

                 ข่าวสาร และกระจายให้ทั่วถึงกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย

                        2) ความไม่เข้าใจในเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่จะขอรับการสงเคราะห์ เกษตรกรบางรายมีพื้นที่ทําสวน

                 ยางพาราที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ มีความต้องการให้ สกย. หาหนทางในการช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิ์ในการ
                 สงเคราะห์การทําสวนยางพารา








                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 54
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65