Page 59 -
P. 59

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                        7) เกษตรกรมีความต้องการในการได้รับความรู้ในเรื่องโรคของยางพารา   เรื่องการผสมปุ๋ ยใช้เอง

                 อยากให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ เทคนิคต่างๆในการทําสวนยาง ระหว่างเจ้าหน้าที่กับ

                 เกษตรกร และมีการจัดศึกษาดูงานในสวนของเอกชน หรือสวนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่ม
                 ประสบการณ์ให้กับเกษตรกร


                        8) ด้านสถานที่ในการให้บริการของ สกย. ในการจัดประชุมเกษตรกรแต่ละครั้งควรนัดหมายใน

                 สถานที่ใกล้ สะดวกสําหรับเกษตรกร และควรมีสํานักงานย่อยในแต่ละเขต   พื้นที่เพื่อความสะดวกในการ
                 เดินทางจะไม่เสียเวลาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร และควรเพิ่มสถานที่ในการจอดรถ ห้องนํ้า ที่

                 สํานักงานของ สกย. ให้เพียงพอ เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับสมาชิก


                        4.5.2 เกษตรกรหลังรับการสงเคราะห์

                        กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรหลังรับการสงเคราะห์ระบุความคิดเห็นด้านการได้รับความรู้และการนําความรู้

                 ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกร จํานวน 97 คน สรุปข้อมูล ดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ารับการอบรม
                 เนื่องจากไม่ทราบข่าวการประชาสัมพันธ์ และบางส่วนเห็นว่าสถานที่ในการอบรมมีระยะทางไกล ไม่สะดวก

                 ในการเดินทาง สําหรับแต่ละหลักสูตรเช่น การผลิตปุ๋ ยอินทรีย์ ชีวภาพ และการผสมปุ๋ ยเคมี เกษตรกรบางส่วน

                 เข้ารับการอบรมแต่นําไปใช้ประโยชน์น้อย   เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้ปุ๋ ยเคมี และมีความ
                 สะดวกของแรงงานในการใส่ปุ๋ ย การใช้ประโยชน์จากการได้รับความรู้การคัดคุณภาพยางแผ่นดิบค่อนข้าง

                 น้อย เพราะในการตัดสินคุณภาพผลผลิตพ่อค้าจะเป็นคนตัดสิน(ในกรณีที่เกษตรกรขายผลผลิตให้กับพ่อค้า

                 ทั่วไป) และเกษตรกรจะขายผลผลิตในรูปขี้ยางเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่เข้ารับการอบรมการผลิตยางแผ่น และยาง

                 แผ่นรมควันอัดก้อน มีการส่งเสริมอาชีพเสริมที่หลากหลายในพื้นที่ เช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชแซม การ
                 เผาถ่าน การทํานํ้าส้มควันไม้ และการทํานํ้ายาเอนกประสงค์ แต่ยังมีการติดตามงานเจ้าหน้าที่ สกย. และการ

                 สนับสนุนความรู้ทางวิชาการน้อย เจ้าหน้าที่ สกย. ในพื้นที่ไม่มีความหลากหลายในสาขาวิชาหรือมีความ

                 เชี่ยวชาญ ชํานาญ และเทคนิคเฉพาะทาง และสําหรับหลักสูตรการเสริมสร้างเกษตรกรชาวสวนยางยุคใหม่

                 เกษตรกรส่วนมากไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ

                        เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นด้านคุณภาพในการให้บริการของ สกย.   จํานวน 34 คน สรุปได้

                 ดังนี้

                        1) การให้บริการของ สกย. ในรูปแบบการฝึกอบรม จัดสัมมนา และศึกษาดูงานน้อย สําหรับบาง

                 หลักสูตรเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีการนําความรู้ เทคนิคที่ได้รับไปปฏิบัติเองค่อนข้างน้อย ส่วนมากจะ
                 มีการถ่ายทอดต่อให้กับลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานกรีดยางพารา ดังนั้นในการจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ควรศึกษา

                 ความต้องการของเกษตรกรก่อน และจัดหลักสูตรตามความต้องการ และความจําเป็นในแต่ละพื้นที่




                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 53
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64