Page 65 -
P. 65

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                 4.6 สรุปบทเรียนจากการประเมินผล


                        จากการศึกษาข้อมูลการลงพื้นที่ การร่วมระดมความคิดเห็นจากคณะทํางาน วิเคราะห์และสรุปผลใน

                 แต่ละจังหวัด ดังนี้

                        จังหวัดชุมพร  เกษตรกร ตัวแทนสถาบันเกษตรกร เกษตรกรรายย่อย พ่อค้า นักวิชาการ และ

                 ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่เป็นอย่างดี  โดยทั่วไปจังหวัดชุมพรสภาพ
                 สวนมีการจัดการค่อนข้างดี พบว่าบางส่วนมีการใช้สารเคมีในการเร่งผลผลิตนํ้ายางบ้าง เนื่องจากในช่วง

                 ระยะเวลาที่ผ่านมา เกษตรกรได้รับผลผลิตนํ้ายางน้อย สาเหตุอาจเนื่องมาจากฝนแล้ง


                        การจัดการสวนยางพาราของเกษตรกร เกษตรกรที่มีพื้นที่สวนยางพารามากส่วนใหญ่จ้างแรงงานกรีด
                 ยางและดูแลสวนยางพาราเป็นแรงงานจากประเทศพม่าและจากภาคอีสาน การจ้างแรงงานมีสัดส่วนของ

                 รายได้จากผลผลิตยางพารา (เกษตรกร)  60: 40 (แรงงาน)  โดยเกษตรกรเจ้าของสวนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่า

                 ปุ๋ ย และต้นพันธุ์ยางพารา   ส่วนแรงงานจะเป็นผู้ลงแรงในการถางหญ้า กรีดยางพารา และกระบวนการทํายาง
                 แผ่นดิบ ลักษณะการกรีดยางพาราของเกษตรกรมีการเปิดกรีดแบบสองหน้า และสามหน้า  ส่วนใหญ่กรีดสอง

                 วันเว้นหนึ่งวัน และกรีดสามวันเว้นหนึ่งวัน ปัญหาของเกษตรกรในการทําสวนยางพารา คือโรครากขาวเป็น

                 โรคที่พบมากของเกษตรกรผู้ปลูกยางในจังหวัดชุมพร ซึ่งโรคนี้ทําให้ยางพารามีผลผลิตนํ้ายางน้อยและค่อยๆ

                 ยืนต้นตาย เกิดลุกลามเป็นบริเวณกว้าง พบได้ทั่วไป ทําให้เกษตรกรบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงจากการทํา
                 สวนยางพารา เป็นการปลูกปาล์มนํ้ามัน และไม้ผล เช่น ทุเรียน จากการสอบถามเกษตรกรพบว่ายังไม่สามารถ

                 ป้องกันรักษาโรคนี้ได้ ศูนย์วิจัยยางฯ ควรศึกษาหาแนวทางในการแก้ไข หรือหาพันธุ์ต้านทานเพื่อเพิ่มความ

                 มั่นใจให้กับเกษตรกร

                        ข้อมูลจากพื้นที่พบว่ามีเกษตรกรบางรายที่เข้าไปติดต่อสํานักงานของ สกย. เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอน

                 ของการขอรับการสงเคราะห์หรือรับเล่มเอกสารการสงเคราะห์เท่านั้น หลังจากนั้นเกษตรกรจะเข้าไปใช้
                 บริการและติดต่อเจ้าหน้าที่ สกย. ในพื้นที่กลุ่มเกษตรกร ศาลาอเนกประสงค์ ของหมู่บ้าน หรือที่สํานักงาน

                 สหกรณ์การเกษตร เกษตรอําเภอ เป็นต้น เนื่องจากที่ชุมพรมีสํานักงานระดับ อําเภอเพียง 3 อําเภอ อําเภออื่น

                 เจ้าหน้าที่จะไปประจําตามสํานักงาน ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้บริการอาทิตย์ละ 1 วัน และสํานักงาน สกย.
                 อําเภอ เมือง รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 6 อําเภอ ทําให้การให้บริการอาจไม่ทั่วถึง และมีการโยกย้ายพื้นที่การ

                 ทํางานของเจ้าหน้าที่ และจํานวนเจ้าหน้าที่ต่อพื้นที่หรือต่อเกษตรกรรับผิดชอบ มีอัตราส่วนเจ้าหน้าที่ 1 คน

                 รับผิดชอบจํานวนมาก จึงทําให้การบริการอาจไม่ทั่วถึง เพื่อมุ่งเน้นการบริการที่มีประสิทธิภาพควรมีการเพิ่ม

                 อัตราเจ้าหน้าที่ ให้เพียงพอเหมาะสมกับจํานวนเกษตรกร






                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 59
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70