Page 72 -
P. 72

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                 ปัญหาด้านการถือครองเอกสารสิทธิ์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้อบรม  เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่อายุมาก

                 อาศัยประสบการณ์เดิมในการทําสวน เกษตรกรที่ปลูกพันธุ์ BPM 24 จะประสบปัญหาผลผลิตนํ้ายางน้อย และ
                 เกษตรกรมีความเห็นว่าหลังพ้นสงเคราะห์แล้วจะไม่ค่อยได้รับการดูแลหรือข้อมูลข่าวสารรวมทั้งการติดตาม

                 งาน จากทาง สกย.

                        ด้านการตลาด ในพื้นที่จังหวัดสตูลเกษตรกรเน้นการขายผลผลิตในรูปนํ้ายาง มีทํายางแผ่นดิบและยาง

                 แผ่นรมควันน้อย เนื่องจากขายได้รวดเร็ว และไม่สามารถหาที่จัดตั้งโรงรมได้ ส่วนใหญ่เกษตรกรที่เป็น

                 สมาชิกกลุ่มจะนํานํ้ายางมารวบรวมที่กลุ่ม หรือเกษตรกรรายย่อยจะขายนํ้ายางให้พ่อค้ารายย่อยที่มารับซื้อโดย
                 รถกระบะ จากนั้นกลุ่มเกษตรกรหรือพ่อค้ารายย่อยจะขายนํ้ายางให้บ่อนํ้ายาง ซึ่งดําเนินการโดยพ่อค้าหรือ

                 กลุ่มสหกรณ์ที่รับซื้อนํ้ายางที่ สกย. ได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุนการทําบ่อนํ้ายางพารา และจะส่งขายให้กับ

                 โรงงานหรือผู้ซื้อรายใหญ่โดยตรงที่อําเภอหาดใหญ่ หรือจังหวัดตรังต่อไป ส่วนพ่อค้ามักจะตั้งจุดรับซื้อหรือ

                 บ่อนํ้ายางเพื่อรวบรวมผลผลิตนํ้ายางจากเกษตรกร การรับรู้ข้อมูลข่าวสารราคายางพาราของพ่อค้า จะสอบถาม
                 ทางโทรศัพท์จากโรงงานที่รับซื้อโดยตรง เนื่องจาก สกย. จะไม่ได้ให้ข้อมูลราคาทาง   SMS เหมือนจังหวัด

                 ชุมพรเพราะจะมีการตัดราคาทางบ่อนํ้ายางของทางกลุ่ม/สหกรณ์ที่ สกย.จัดตั้งขึ้นทําให้กลุ่มมีความไม่เข้มแข็ง


                        กลุ่ม/องค์กร กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลในการได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ เช่น ตาชั่ง
                 และด้านการบริหารจัดการจากทาง สกย. การตั้งอาคารสํานักงาน ส่วนใหญ่จะมีการจัดตั้งกันเอง การปันผลได้

                 รับคําแนะนํา จากทาง สกย. ช่วยเหลือให้ข้อมูลและเป็นพี่เลี้ยง แต่อย่างไรก็ตามทางกรรมการกลุ่มจะเป็นผู้

                 ตัดสินใจเองในการจัดสรรงบประมาณ การดําเนินงานของกลุ่ม ตลอดจนการแบ่งสรรเงินปันผล กลุ่มจะรับซื้อ
                 นํ้ายางจากสมาชิกกลุ่ม ทําการตรวจเช็ค ความเข้มข้นของเปอร์เซ็นต์นํ้ายาง และรวบรวมขายให้กับพ่อค้า

                 ปัญหาของสมาชิกกลุ่มเขาน้อยพัฒนา พบว่า สมาชิก  71  ราย มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสงเคราะห์การทํา

                 สวนยางจาก สกย.ได้เพียง 5  คน เนื่องจากในพื้นที่หมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ และเขตป่า
                 สงวน ทําให้เกษตรไม่สามารถเข้ารับการสงเคราะห์ได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารสิทธิ์ และเกษตรกรเห็นว่ามี

                 ขั้นตอนยุ่งยากในการดําเนินงาน

                        กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการให้บริการของ สกย.ในระดับที่มาก แต่มีปัญหาและ

                 แนวทางในการพัฒนา ดังนี้


                        1) ด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า มีเกษตรกรไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ในบางพื้นที่ เนื่องจากมีการ
                 ตั้งเป็นกลุ่มย่อยๆ และข้อมูลข่าวสารมีการฝากบอกต่อแบบปากต่อปาก หากเจ้าของสวนไม่อยู่ทําให้ขาดการ

                 รับรู้ข่าวสาร ควรมีการใช้เสียงตามสายในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่มัสยิดเนื่องจากได้ยินชัดเจนกว่า


                        2)  การตรวจสวนต้องมีการรอเพื่อนสมาชิกในกลุ่มเตรียมพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนนัดตรวจ ทําให้ต้อง
                 รอนาน และพบว่า มี 2-3 ราย ที่พื้นที่จากการรังวัดลดไปค่อนข้างมาก จะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน







                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 66
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77