Page 75 -
P. 75
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ราคา 20 บาท/กิโลกรัม การให้การสงเคราะห์โดย สกย. ในการสนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอต่อการดูแล
ตลอดระยะเวลาการสงเคราะห์ ทําให้เกษตรกรต้องมีการลงทุนตนเองเพิ่มขึ้น ด้านการตลาดส่วนหนึ่งคือ
เกษตรกรจะส่งผลผลิตให้กับตลาดยาง สกย. ในช่วงที่ราคาผลผลิตลดลง และมีการพยุงราคา สําหรับในช่วงที่
ราคายางพาราสูง เกษตรกรจะส่งให้ตลาดพ่อค้าทั่วไป การรวมกลุ่ม/สหกรณ์ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกยังขาด
การตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกกลุ่ม/องค์กร
เกษตรกรจํานวนมากที่มีพื้นที่ทําการเกษตรทั้งหมดเป็นพื้นที่ทําสวนยางพารา และในการได้รับ
บริการจาก สกย. ในการสงเคราะห์การทําสวนยางมีข้อมูลการทําสวนยางพาราของเกษตรกร ดังนี้
พันธุ์ยางพารา พันธุ์ RRIM 600 เป็นพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมสําหรับพื้นที่จังหวัดจันทบุรี การแตกพุ่ม
การต่อยอดพันธุ์ RRIT 406, BPM 24 ต้นไม่สูงนัก แตกกิ่งออกข้าง การเก็บผลผลิต กรีด 2 วัน เว้น 1 วัน
ข้อเสีย ต้นเล็ก ล้มง่าย เป็นโรคเส้นดํา (ไฟทอปเทอร่า) พันธุ์ PB 251 เนื้อไม้ดีกว่า RRIM 600 อายุการให้นํ้า
ยางสูงกว่า การเก็บผลผลิต กรีด 1 วัน เว้น 1 วัน พันธุ์ BPM 24 มีปัญหา หน้ายางแห้ง เนื้อไม้เยอะ เปลือกหนา
กรีดยาก
ด้านการจัดการสวนยางพารา สรุปได้ดังนี้
1) การจัดการโรค เช่น โรคไฟทอปเทอร์ร่า โรคนี้ส่วนใหญ่มีการกระจายเชื้อมาจากสวนทุเรียน สวน
ผลไม้ จากพื้นดิน ผ่านมายังราก ต้นยางพาราอายุประมาณ 3-4 ปี ใบเขียวจะร่วง (รา เส้นดํา) ใบร่วงช่วงฝนตก
ชุก หน้าเน่า นํ้ายางไหลไม่หยุด (ปกติประมาณ 2 ชั่วโมงหลังกรีดจะหยุด) แนวทางที่เกษตรกรปฏิบัติ คือการ
หยุดกรีดยางพารา และใช้ยาแก้เชื้อราทาบริเวณหน้ายาง
2) การจัดการสวนดําเนินการ เกษตรกรได้รับการสงเคราะห์ในรูปแบบเงินสนับสนุน และปุ๋ ยเคมี ปุ๋ ย
อินทรีย์ มีความต้องการในการขยายวงเงินการให้ทุนของ สกย. จาก 11,000 บาท/ไร่ เป็น 13,000 บาท/ไร่
เพราะปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น เช่น ต้นพันธุ์ ปุ๋ ย และค่าจ้างแรงงาน แต่นักวิชาการและเจ้าหน้าที่บางส่วนมี
ความเห็นว่าการจ่ายเงิน ค่าแรง การให้เปล่าทําให้เกษตรกรไม่เห็นคุณค่า การสนับนุนปัจจัยการผลิตในรูป
ปุ๋ ยเคมี ปุ๋ ยอินทรีย์ เกษตรกรพบว่าการใส่ปุ๋ ยอินทรีย์(มูลไก่)มีปัญหานํ้ายางพาราหยุดไหล และมีการเกิดโรค
รวมทั้งการไม่มีแรงงานใส่ปุ๋ ยอินทรีย์ และในการจ่ายปุ๋ ยควรมีการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งปุ๋ ยอินทรีย์ และ
ปุ๋ ยเคมี ซึ่งเกษตรกรบางรายขอรับการสนับสนุนในรูปแบบเงินทั้งหมด เพื่อความสะดวกของเกษตรกรในการ
ขนส่งปุ๋ ยจากสหกรณ์/กลุ่ม ซึ่งบางครั้งไม่มีคนประสานงานอํานวยความสะดวกตลอดเวลา และการจัดการมี
ความยุ่งยาก ไม่มีแรงงาน
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 69