Page 82 -
P. 82
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5
สรุปและข้อเสนอแนะ
การประเมินผลการดําเนินงานสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) มีการศึกษาถึง
บทบาท ภารกิจ ความคิดเห็นของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร พ่อค้านักวิชาการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อการ
ให้บริการของ สกย. สรุปผลการศึกษา และจัดทําข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา ดังนี้
5.1 สรุปผลการศึกษา
สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์การทําสวนยาง และ
การสงเคราะห์ปลูกแทน ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรร
งบประมาณ สร้างโรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิตเป็นยางแผ่น
รมควันหรืออบแห้ง จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี จัดตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้
เกษตรกรและพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐานและราคาที่เป็นธรรม
5.1.1 เกษตรกรที่อยู่ระหว่างสงเคราะห์ จํานวน 425 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 51-60 ปี
จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดินของเกษตรกร พื้นที่ทั้งหมด 41 ไร่ พื้นที่ทํา
สวนยางพารา 30ไร่ เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อขั้นตอนในการให้การสงเคราะห์ในระดับมากที่สุด ในการ
จ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทน (4.30) การสํารวจสภาพต้นยาง สภาพพื้นที่ และการสํารวจรังวัดพื้นที่ (4.28)
วิธีการตรวจสอบและแนะนําสวนยางสงเคราะห์ปลูกแทน (4.26) การประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการสํารวจรังวัด
พื้นที่ (4.24) การโค่นยางพาราเก่าและปลูกแทน (4.22) การยื่นเอกสารสงเคราะ ห์การปลูกแทนเท่ากันกับ
ขั้นตอนการปลูกแทน (4.21) และการอนุมัติและการแจ้งผลการอนุมัติในการให้การสงเคราะห์ปลูกแทน
(4.20) ตามลําดับ และมีความพึงพอใจต่อการให้การสงเคราะห์ในระดับมาก ในด้านเทคโนโลยีในการดูแล
รักษาสร้างสวนยาง (4.19) และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร (4.11) มีความคิดเห็น/ความพึงพอใจต่อการ
ให้บริการ สกย. ในระดับมากที่สุด ผลจากการให้บริการของ สกย. เป็นประโยชน์ต่อตนเองต่อกลุ่ม/สถาบัน
ต่อชุมชนและสังคม (4.42) ด้านกระบวนการการให้บริการ ลําดับการติดต่อ ความรวดเร็ว สิ่งอํานวยความ
สะดวก (4.29) และด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ การปฏิบัติและการอํานวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่
(4.26) ตามลําดับ และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ สกย. ในระดับมาก ในด้านสถานที่ สิ่งอํานวย
ความสะดวกที่สํานักงาน (4.19) มีความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ ในระดับมาก (3.87) และมีความคิดเห็น
ต่อการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในระดับมาก (3.57) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ในระดับ
มาก ทุกประเด็น ในขั้นตอนการปลูกแทน (4.20) การกรีดยาง (4.01) การจัดการสวนยางพ้นสงเคราะห์อย่าง
ยั่งยืน (3.99) การใส่ปุ๋ ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (3.93) โรคและศัตรูยาง คะแนนเท่ากันกับการผสมปุ๋ ยใช้เอง (3.92)
การทําปุ๋ ยอินทรีย์ชีวภาพ (3.78) การทํายางแผ่นชั้นดี (3.73) การขยายพันธุ์ยาง (3.60) และการบริหารจัดการ
นํ้ายางสด (3.59) เกษตรกรมีความเห็นต่อการนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในระดับมากที่สุด ในขั้นตอน
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 76