Page 85 -
P. 85

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                 สวนยาง (4.23) นําความรู้ไปใช้ประโยชน์ในระดับมาก ในขั้นตอนการปลูกแทน (4.19) การจัดการสวนพ้น

                 สงเคราะห์ (3.97) การกรีดยางและการเพิ่มทักษะการกรีดยาง (3.88) การเสริมสร้างเกษตรกรชาวสวนยางยุค

                 ใหม่ (3.68) การใส่ปุ๋ ยตามค่าวิเคราะห์ดินเท่ากันกับโรคแมลงศัตรูยางและการป้องกันกําจัด (3.60) ผสม

                 ปุ๋ ยเคมี (3.41) ในระดับปานกลาง คือการทํายางแผ่นชั้นดี (3.35) การผลิตปุ๋ ยอินทรีย์ชีวภาพ (3.33) การคัด
                 คุณภาพยางแผ่นดิบ (3.28) การขยายพันธุ์ยาง (3.19) ตามลําดับ  และในระดับน้อยในด้านการผลิตยางแผ่น

                 รมควันอัดก้อนมาตรฐาน  มีความคิดเห็นต่อคุณภาพในการให้บริการของ สกย. ในภาพรวม ในระดับมาก

                 (3.99) มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ ในระดับมาก ทุกประเด็น ดังนี้  การสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์

                 ทรัพยากรธรรมชาติในการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน เช่น การใช้ปุ๋ ย การป้องกันกําจัดศัตรูพืช/วัชพืช (4.19)
                 การพัฒนาด้านการตลาดยางเพื่อรองรับการผลิตของเกษตรกร  (4.03) การพัฒนาเกษตรกรระบบกลุ่ม เรียนรู้

                 ร่วมกัน พึ่งพาตนเองได้ (4.00) การพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม พึ่งพากันและกัน สร้างความเข้มแข็ง

                 (3.97) การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างถูกต้อง เหมาะสม (3.90) และการฝึกอบรม
                 สัมมนา ศึกษาดูงาน ด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด (3.85)


                        เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ารับการอบรมเนื่องจากไม่ทราบข่าวการประชาสัมพันธ์ และบางส่วนเห็น
                 ว่าสถานที่ในการอบรมมีระยะทางไกล ไม่สะดวกในการเดินทาง สําหรับแต่ละหลักสูตร  เช่น การผลิตปุ๋ ย

                 อินทรีย์ ชีวภาพ และการผสมปุ๋ ยเคมี เกษตรกรบางส่วนเข้ารับการอบรมแต่นําไปใช้ประโยชน์น้อย   เพราะ

                 เกษตรกรส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้ปุ๋ ยเคมี และมีความสะดวกของแรงงานในการใส่ปุ๋ ย การใช้ประโยชน์จาก
                 การได้รับความรู้การคัดคุณภาพยางแผ่นดิบค่อนข้างน้อย และเกษตรกรจะขายผลผลิตในรูปขี้ยางเป็นส่วน

                 ใหญ่ จึงไม่เข้ารับการอบรมการผลิตยางแผ่น และยางแผ่นรมควันอัดก้อน มีการส่งเสริมอาชีพเสริมที่

                 หลากหลายในพื้นที่ เช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชแซม การเผาถ่าน การทํานํ้าส้มควันไม้ และการทํานํ้ายา

                 เอนกประสงค์ แต่ยังมีการติดตาม เจ้าหน้าที่ สกย. ในพื้นที่ไม่มีความหลากหลายในสาขาวิชา และสําหรับ
                 หลักสูตรการเสริมสร้างเกษตรกรชาวสวนยางยุคใหม่เกษตรกรส่วนมากไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ


                        เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคุณภาพในการให้บริการของ สกย. สรุปได้

                 ดังนี้

                        1) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึงเกษตรกร ทําให้เกษตรกรไม่ทราบข่าวการให้บริการ

                 ของ สกย. เช่นไม่ทราบข่าวสารด้านการอบรม ทําให้ไม่ได้เข้ารับการอบรม ควรเน้นการประชาสัมพันธ์
                 ข่าวสาร และกระจายให้ทั่วถึงกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย


                        2) ให้ความรู้เรื่อง เอกสารสิทธิ์ที่ดินที่จะขอรับการสงเคราะห์ เกษตรกรบางรายมีพื้นที่ทําสวน
                 ยางพาราที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ มีความต้องการให้ สกย. หาหนทางในการช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิ์ในการ

                 สงเคราะห์การทําสวนยางพารา


                        3) การจ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทน ในรูปปัจจัยการผลิตปุ๋ ยเคมี เกษตรกรบางส่วนมีความเห็นว่าควร
                 จ่ายในรูปเงินสงเคราะห์แทน ในกรณีจ่ายในรูปปุ๋ ยเคมีควรมีการวิเคราะห์ดินในแต่ละรายและแนะนําการใส่




                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า                                     79
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90