Page 84 -
P. 84

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                        4) จัดให้มีหน่วยงานที่ขยายพันธุ์กล้ายางพาราในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป   และจัดหากล้า

                 ยางพาราให้ในส่วนที่ต้องซ่อมแซมต้นที่ตาย(สนับสนุนเพิ่ม) หรือเป็นผู้ออกใบรับรองกล้ายางให้กับเจ้าของ

                 แปลงกล้ายางพารา

                        5) การให้บริการของ สกย. ควรมีการขยายเวลาในการสงเคราะห์เพิ่มขึ้น และขยายพื้นที่การ

                 สงเคราะห์ในเกษตรกรแต่ละรายโดยเพิ่มพื้นที่สงเคราะห์ต่อรายมากขึ้น


                        6) ควรเพิ่มจํานวนเจ้าหน้าที่ สกย. ในพื้นที่ให้มากขึ้น และให้เจ้าหน้าที่ดูแลเกษตรกรในพื้นที่ ให้
                 ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับโรค แมลง แนะนําการดูแลรักษา การจัดการสวนยางพารา และเข้ามาส่งเสริมอาชีพ

                 เสริมรายได้ให้กับเกษตรกรให้มากขึ้น

                        7) จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคของยางพารา   เรื่องการผสมปุ๋ ยใช้เอง  และจัดให้มีเวทีในการ

                 แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ เทคนิคต่างๆในการทําสวนยาง ระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และมีการจัดศึกษา

                 ดูงานในสวนของเอกชน หรือสวนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับเกษตรกร

                        8) การจัดประชุมเกษตรกรควรนัดหมายในสถานที่ใกล้ สะดวกสําหรับเกษตรกร และควรมี

                 สํานักงานย่อยในแต่ละเขต พื้นที่เพื่อความสะดวกในการเดินทางจะไม่เสียเวลาในการประกอบอาชีพของ

                 เกษตรกร และควรเพิ่มสถานที่ในการจอดรถ ห้องนํ้า ที่สํานักงานของ สกย. ให้เพียงพอ เพื่ออํานวยความ
                 สะดวกให้กับสมาชิก


                        5.1.2  เกษตรกรหลังรับการสงเคราะห์  จํานวน 403 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 51-60 ปี

                 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดินของเกษตรกร พื้นที่ทั้งหมด 45 ไร่ พื้นที่ทํา
                 สวนยางพารา 34 ไร่  มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ สกย.  ในระดับมากที่สุด ในกิจกรรมที่ สกย.

                 บริการ มีความสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร (4.36) ผลจากการให้บริการของ สกย. มีประโยชน์

                 ต่อเกษตรกร กลุ่มและชุมชน (4.42) และด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ มีการชี้แจงขั้นตอน ให้คําแนะนํา
                 และตอบคําถามเป็นที่เข้าใจ สะดวก รวดเร็ว ตามเวลา เต็มใจบริการ มีความรู้ความเชี่ยวชาญ (4.21) และมี

                 ความพึงพอใจต่อการให้บริการของ สกย. ในระดับมาก ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการให้บริการ

                 และด้านสถานที่ สิ่งอํานวยความสะดวก (ที่สํานักงานและตลาดยาง สกย.) เท่ากัน (4.13)   เกษตรกรได้รับ
                 ความรู้ในระดับมาก (3.86) และนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ในระดับมาก (3.57) ได้รับความรู้จากการให้บริการ

                 ของ สกย. เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการได้รับความรู้  ในระดับมาก ใน ขั้นตอนการปลูกแทน (4.17)

                 เทคโนโลยีการปลูกสร้างสวนยาง (4.16) การจัดการสวนพ้นสงเคราะห์ (4.01) การกรีดยางและการเพิ่มทักษะ

                 การกรีด (3.98) การทํายางแผ่นชั้นดี (3.87) การผสมปุ๋ ยเคมี (3.83) การใส่ปุ๋ ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (3.82) โรค
                 แมลงศัตรูยางและการป้องกันกําจัด (3.80) การเสริมสร้างเกษตรกรชาวสวนยางยุคใหม่ (3.75)การคัดคุณภาพ

                 ยางแผ่นดิบ (3.74) และการผลิตปุ๋ ยอินทรีย์ชีวภาพและการขยายพันธุ์ยาง (3.71) ตามลําดับ และได้รับความรู้

                 ในระดับปานกลาง ในด้านการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนมาตรฐาน (3.17)  เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการ
                 นําความรู้ที่ได้รับจากการให้บริการของ สกย.ไปใช้ประโยชน์ ในระดับมากที่สุด ในเทคโนโลยีการปลูกสร้าง




                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า                                     78
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89