Page 83 -
P. 83

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                 การปลูกแทน (4.23) ในระดับมาก การกรีดยางเท่ากันกับการจัดการสวนยางพ้นสงเคราะห์อย่างยั่งยืน (3.95)

                 การใส่ปุ๋ ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (3.77) โรคและศัตรูยาง (3.76) และการบริหารจัดการนํ้ายางสด (3.47) ในระดับ

                 ปานกลาง การผสมปุ๋ ยใช้เอง (3.23) การทํายางแผ่นชั้นดี (3.18) การทําปุ๋ ยอินทรีย์ชีวภาพ (3.16) และการ

                 ขยายพันธุ์ยาง (3.00)

                        การปลูกยางพาราคือพันธุ์ยางพารามีราคาแพง เกษตรกรไม่มีแรงงานในการใส่ปุ๋ ย และการกรีด

                 ยางพาราและค่าจ้างแรงงานสูง ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการรับบริการจาก สกย. ในขั้นตอนการตรวจสวน  การรับ

                 ข่าวสารเกิดความคลาดเคลื่อน จึงไม่ได้เตรียมความพร้อมของพื้นที่ทําให้บางขั้นตอนในการตรวจสวนล่าช้า
                 เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอกับจํานวนเกษตรกร การจ่ายปัจจัยการผลิตปุ๋ ยเคมีไม่ตรงตามกําหนดเวลามีความล่าช้า

                 ปริมาณปุ๋ ยที่เกษตรกรได้รับไม่เพียงพอ ปุ๋ ยที่ได้รับไม่มีคุณภาพ

                         การได้รับความรู้และการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในการ

                 เข้ารับความรู้ อาจเป็นเพราะการสื่อสารข้อมูล การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง และระยะเวลาใน

                 การรับทราบข้อมูลข่า วสารค่อนข้างล่าช้า ความรู้การกรีดยางส่วนใหญ่เกษตรกรจะใช้ความชํานาญในการ
                 กรีดยางที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทํายางแผ่นชั้นดี ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลผลิตในรูปยาง

                 ถ้วย ขี้ยางพารา เพราะมีความสะดวก ใช้เวลาน้อย


                        การเข้าร่วมสงเคราะห์การทําสวนยาง เกษตรกรบางส่วนไม่เข้าใจในข้อจํากัดเรื่องพื้นที่เข้าร่วม
                 โครงการฯ คือการมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่จะขอรับการสงเคราะห์ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในการ

                 ให้บริการของ สกย. ข้อมูลในการเข้าร่วมโครงการ หลักเกณฑ์ต่างๆ ข้อควรปฏิบัติ ยังไม่ทั่วถึง ทําให้ไม่ได้

                 เข้าร่วมรับบริการในโครงการต่างๆ และโครงการอบรมของ สกย. ตามต้องการ และในบางหลักสูตร เช่น การ

                 ทํายางแผ่นชั้นดีไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลผลิตในรูปยางถ้วยหรือขี้
                 ยาง นอกจากนี้ในการติดต่อประสานงานสถานที่ตั้งสํานักงานของ สกย. ห่างไกลสําหรับเกษตรกร คือมีที่

                 ตั้งอยู่ในตัวจังหวัด ทําให้เกษตรกรมีข้อจํากัดในการเข้าร่วมประชุม อบรม และสถานที่จอดรถของสํานักงาน

                 สกย. มีความคับแคบ ไม่เพียงพอ

                        ข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์ต่อการให้บริการของ สกย.

                        1) เกษตรกรมีความต้องการให้หน่วยงานที่ทําหน้าที่ออกเอกสารสิทธิ์ทํางานประสานความร่วมมือ

                 กับ สกย. เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับเกษตรกรในการขอรับการสงเคราะห์


                        2) ควรเพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และกระจายข้อมูลข่าวสารในการให้บริการต่างๆ
                 ของ สกย.ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่มากขึ้นกว่าเดิม


                        3) เพิ่มการสนับสนุนปัจจัยการผลิตปุ๋ ยเคมีเป็น 2 เท่า   และควรจ่ายปุ๋ ยให้ตรงเวลาหรือเพิ่มวงเงินใน
                 การสงเคราะห์ให้มากขึ้น เพราะต้นทุนในการทําสวนยาง เช่น ค่าพันธุ์ ปุ๋ ยเคมี ปุ๋ ยอินทรีย์ มีราคาสูงขึ้น








                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า                                     77
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88