Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
30
8) ตองมีการรับประกันสินคา หรือบริการเพื่อใหผูบริโภคเกิดความมั่นใจวาจะไดของดี
กลับไปและคุมคากับเงินที่ตองจาย
9) การบริการที่ดี คือ บริการที่มีความไวตอความรูสึกของผูบริโภค ตองฝกหัดตัวเองให
ไวตอการสังเกตใหรูวาผูบริโภคตองการอะไร
10) ตองรักษาคํามั่นสัญญา
11) ตองมีเวลาใหกับผูบริโภค
12) ตองมีความรวดเร็ว บริการที่ดีวิธีการทํางานตองมีความวองไวกระฉับกระเฉงและ
เล็งเห็นคุณคาความสําคัญในเวลาของผูบริโภคเปนหลัก
13) ตองมีคําตอบที่แมนยําใหกับผูบริโภค
14) บริการที่ดีตองมีความสุภาพ มีมารยาทที่งดงาม และมีวาจาไพเราะออนหวาน
6. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวของกับความพึงพอใจ
6.1 ความหมายของความพึงพอใจ
ความพึงพอใจเปนความรูสึกภายในจิตใจของมนุษยที่ไมเหมือนกัน ขึ้นอยูกับแตละบุคคลวา
จะมีความคาดหมายกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยางไร ถาคาดหวังหรือมีความตั้งใจมากและไดรับการตอบสนอง
ดวยดีจะมีความพึงพอใจมากแตในทางตรงกันขามอาจผิดหวังหรือไมพึงพอใจเปนอยางยิ่ง เมื่อไมไดรับ
การตอบสนองตามที่คาดหวังไวทั้งนี้ขึ้นอยูกับสิ่งที่ตั้งใจไววาจะมีมากหรือนอย (วิรุฬ พรรณเทวี,
2542)
ความพึงพอใจ หมายถึง ความรูสึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีตอสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาจจะ
เปนไปในเชิงประเมินคาวาความรูสึกหรือทัศนคติตอสิ่งใดสิ่งนั้นเปนไปในทางบวกหรือทางลบ
(อุทัยพรรณ สุดใจ, 2544)
ความพึงพอใจของมนุษยเปนการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เปนนามธรรม ไมสามารถ
มองเห็นเปนรูปรางได การที่เราจะทราบวาบุคคลมีความพึงพอใจหรือไม สามารถสังเกตโดยการ
แสดงออกที่คอนขางสลับซับซอนและตองมีสิ่งเราที่ตรงตอความตองการของบุคคล จึงจะทําใหบุคคล
เกิดความพึงพอใจ ดังนั้นสิ่งเราจึงเปนแรงจูงใจของบุคคลนั้นใหเกิดความพึงพอใจในงานนั้น
(กาญจนา อรุณสอนศรี, 2546)
ความพึงพอใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ พฤติกรรมเกี่ยวกับความพึงพอใจของมนุษย
คือ ความพยายามที่จะขจัดความตึงเครียดหรือความกระวนกระวายหรือภาวะไมไดดุลยภาพใน
รางกาย ซึ่งเมื่อมนุษยสามารถขจัดสิ่งตางๆ ดังกลาวไดแลว มนุษยยอมไดรับความพึงพอใจในสิ่งที่ตน
ตองการ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2546)
ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติหรือระดับความพึงพอใจของบุคคลตอกิจกรรมตางๆ
ซึ่งสะทอนใหเห็นถึงประสิทธิภาพของกิจกรรมนั้นๆ โดยเกิดจากพื้นฐานของการรับรู คานิยมและ
ประสบการณที่แตละบุคคลไดรับ ระดับของความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อกิจกรรมนั้นๆ สามารถ
ตอบสนองความตองการแกบุคคลนั้นได (อรรถพร คําคม, 2546)