Page 38 -
P. 38

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                                                                                       25



                            3.3 การกําหนดขนาดของกลุมตัวอยาง

                               3.3.1 เกณฑการพิจารณาขนาดของกลุมตัวอยางมีดังนี้

                                     1)  ลักษณะของประชากร ถาหากประชากรมีลักษณะเหมือนกัน เชน นักเรียน
                       นักศึกษาระดับเดียวกันที่มีพื้นฐานทางครอบครัวคลายกัน หรือเกษตรกรรายยอยที่มีพื้นฐาน
                       ทางเศรษฐกิจและสังคมคลายกัน ก็ไมจําเปนตองใชกลุมตัวอยางขนาดใหญ เพราะตัวอยางเปนตัวแทน
                       ของประชากรที่ดีได แตถาเปนประชากรที่มีความแตกตางกันในดานตางๆ มาก จําเปนตองใช

                       กลุมตัวอยางที่มีขนาดใหญ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากประชากร
                                     2) ขนาดของประชากร นักวิจัยตองกําหนดสัดสวนหรืออัตราสวนระหวางประชากร
                       กับขนาดของตัวอยางที่เหมาะสม ซึ่งถาหากประชากรมีจํานวนมากตัวอยางก็ควรมีจํานวนมากดวย
                       นอกจากเปนการเลือกตัวอยางแบบเจาะจง

                                     3) ประเภทของการวิจัย ถาหากเปนการวิจัยเชิงทดลองที่มีการควบคุมตัวแปรไดดี
                       การวิจัยเชิงสหสัมพันธ และการวิจัยเชิงเปรียบเทียบเหตุและผล อาจใชตัวอยางขนาดเล็กได
                                     4)  ความเที่ยง ถาหากตองการใหการวิจัยมีความเที่ยงจะตองลดความคลาดเคลื่อน
                       ลงและตองใชขนาดตัวอยางที่มีขนาดใหญ

                                     5) ทรัพยากร การวิจัยตองการทรัพยากรบุคคล เงินงบประมาณ และเวลา ดังนั้น
                       นักวิจัยจะตองพิจารณาวามีบุคลากรเพียงพอหรือไม มีความรูความสามารถและทักษะในเชิงวิจัยมาก
                       นอยเพียงใด มีเงินงบประมาณพอเพียงหรือไม รวมทั้งเวลาที่จะใชในการเก็บขอมูลจากกลุมตัวอยาง

                       โดยเฉพาะนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกที่ทําวิจัยเพื่อทําวิทยานิพนธ ซึ่งมีเวลาศึกษาตาม
                       หลักสูตรจํากัด จะตองเลือกขนาดกลุมตัวอยางที่เหมาะสมใหสามารถทําวิจัยสําเร็จได
                                     6)  เครื่องมือเก็บขอมูล เครื่องมือเก็บขอมูลมีขอจํากัดแตกตางกัน เชน การใชแบบ
                       สัมภาษณ หากมีกลุมตัวอยางขนาดใหญตองใชผูสัมภาษณมาก ใชเวลาสัมภาษณนาน และสิ้นเปลืองเวลา
                       (สิน  พันธุพินิจ, 2554)


                               3.3.2 หลักการกําหนดขนาดของกลุมตัวอยาง
                                  หลักเกณฑการกําหนดขนาดของกลุมตัวอยางจะชวยใหนักวิจัยตัดสินใจใชขนาดของ

                       กลุมตัวอยางไดถูกตอง จากนั้นจึงกําหนดขนาดของกลุมตัวอยางตามหลักการที่เหมาะสม ซึ่งสามารถ
                       ทําได 3 วิธี ดังนี้

                                     1)  การพิจารณาจากขนาดประชากร โดยทั่วไปหากประชากรมีขนาดเล็กหรือ
                       มีจํานวนนอยจะกําหนดรอยละของตัวอยางใหมีขนาดใหญ ในทางตรงขาม ถาหากประชากรมีจํานวน

                       มากขึ้นหรือมีฐานของจํานวนกวาง จะกําหนดรอยละของตัวอยางใหเล็กลงดังนี้ (เพ็ญแข  แสงแกว,
                       2541)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43