Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               22



               3. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวของกับกลุมตัวอยางและวิธีการสุมตัวอยาง

                     3.1 ความหมายของประชากรและกลุมตัวอยาง

                        ประชากร ( Population) หมายถึง  กลุมของสิ่งตางๆ ที่สมาชิกทุกหนวยของสิ่งนั้นเปน
               กลุมเปาหมายที่ผูประเมินตองการศึกษา เชน การประเมินผลการดําเนินงานโครงการใหเงินกู
               เพื่อการประกอบอาชีพของชาวชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรที่ผูประเมินตองการ

               เก็บขอมูลคือ ชาวชนบททั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สุวิมล  ติรกานันท, 2550)
                        ประชากร (Population) หมายถึง หนวยที่เราจะศึกษาขอมูลทั้งหมด ซึ่งอาจเปนคนสิ่งที่มี
               ชีวิตหรือสิ่งไมมีชีวิต ในทางสังคมศาสตรจะเนนไปที่ตัวบุคคล เชน จํานวนนักเรียนในโรงเรียนทั้งหมด

               จํานวนครัวเรือนในชุมชนทั้งหมด จํานวนประชากรทั้งจังหวัดหรือทั้งประเทศ (สิน  พันธุพินิจ, 2554)
                        กลุมตัวอยาง (Sample) หมายถึง กลุมยอยของประชากรที่ผูประเมินใชในการเก็บรวบรวม
               ขอมูล กลุมตัวอยางนี้จะตองเปนตัวแทนที่ดีของประชากรทั้งหมด จึงตองอาศัยเทคนิคการสุมตัวอยาง
               (Sampling technique) เขามาชวยคัดเลือกทําใหทุกหนวยของประชากรมีโอกาสที่จะเปนตัวแทน
               เทาๆ กัน โดยจะตองมีการกําหนดกรอบการสุมตัวอยาง (Sampling frame) ซึ่งหมายถึง การกําหนด

               ขอบเขตของประชากรที่ตองการศึกษาใหชัดเจน (สุวิมล  ติรกานันท, 2550)
                        กลุมตัวอยาง ( Sample) หมายถึง กลุมยอยสวนหนึ่งของประชากรที่เราตองการศึกษา
               ขอมูล เชน ในมหาวิทยาลัยหนึ่งหรือชุมชนหนึ่งมีประชากรทั้งหมด   10,000 คน แตเนื่องจากมี

               งบประมาณ เวลา และบุคลากรจํากัด จึงตัดสินใจศึกษาขอมูลจากตัวแทนของนักศึกษาหรือชุมชน
               เพียงรอยละ  10 ของประชากร โดยคัดเลือกกลุมตัวอยางมา  1,000 คน เพื่อแปนตัวแทนของ
               ประชากร (สิน  พันธุพินิจ, 2554)

                     3.2 กระบวนการเลือกตัวอยาง

                        การศึกษาขอมูลโดยใชกลุมตัวอยางแทนประชากรนั้นไมไดทําเพียงเพื่อใหเก็บขอมูลสะดวก
               เก็บขอมูลจากตัวแทนประชากรที่มีจํานวนนอยลง และชวยใหการเก็บขอมูลงายขึ้นเทานั้น แตจะตอง

               ตระหนักถึงความเปนตัวแทนของประชากรทั้งหมด การคัดเลือกตัวแทนของประชากรมีกระบวนการ
               ที่สําคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้

                           1) การนิยามประชากร นักวิจัยตองกําหนดขอบเขตและใหคําจํากัดความของประชากร
               ที่จะศึกษาใหชัดเจนวาประชากรหมายถึงใคร หรือหมายถึงอะไร มีหนวยการวัดอยางไร
               โดยกําหนดใหสอดคลองกับวัตถุประสงคและระเบียบวิธีการวิจัยที่ออกแบบไวเพื่อที่จะทําใหการเลือก

               ตัวอยางงายและไดตัวแทนที่ดี
                           2) การจัดทําบัญชีรายชื่อประชากร หลังจากนักวิจัยไดนิยามประชากรแลว ขั้นตอมา
               ตองจัดทําบัญชีประชากรที่มีอยูในปจจุบันเปนกรอบของการเลือกตัวอยาง (sampling frame) เพราะ
               สมาชิกของประชากรบางคนหรือบางอยางอาจไมอยู บางคนอาจยายออกไป หรือพนจากบัญชี

               ประชากรไปนานแลว นอกจากนี้ ยังตองตรวจสอบวาบัญชีรายชื่อสมาชิกประชากรไดมาอยางไร
               มีอคติหรือไม
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40