Page 137 -
P. 137

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                         การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
                                                                                                       133

                          จากการเปรียบเทียบคะแนนความชอบเฉลี่ยในแต่ละปัจจัยของผลิตภัณฑ์ต้นแบบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งทั้ง

                   2 ตราสินค้าที่ก าหนดขึ้น   พบว่า 12  ปัจจัย ได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับด้านปริมาณไขมัน   ปริมาณ
                   แคลเซียม ปริมาณวิตามินรวม  ปริมาณเส้นใยอาหาร   ปริมาณน้ าตาล คุณค่าทางโภชนาการโดยรวม ปริมาณ
                   พลังงานที่ได้รับ กลิ่นรสตามธรรมชาติ  สีของเครื่องดื่ม ระดับความหวาน สามารถเคี้ยวได้ และลักษณะข้นหนืด
                   ภายในปากของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีค่าคะแนนความชอบเฉลี่ยน้อยกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่ง แสดงว่าปัจจัย

                   เหล่านี้ของผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีลักษณะด้อยกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่ง โดยพิจารณาจากค่าอัตราส่วนการพัฒนา
                   (Improvement ratio) ซึ่งค านวณจากอัตราส่วนระหว่างค่าเป้าหมายในการพัฒนากับระดับคะแนนของผลิตภัณฑ์
                   ต้นแบบ ปัจจัยเหล่านี้มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีลักษณะที่ด้อยกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง ควรท า
                   การปรับปรุงปัจจัยเหล่านี้ให้มีคุณลักษณะที่เทียบเท่าหรือดีกว่าค่าเป้าหมายหรือคู่แข่งต่อไป โดยท าการปรับปรุง
                   ตามค่าเป้าหมายพัฒนาเพื่อการพัฒนา  (Planned  level) ซึ่งได้จากการก าหนดค่าเป้าหมายจากปัจจัยต่างๆ  ของ
                   ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (A) หรือผลิตภัณฑ์คู่แข่ง 2 ตรา (B และ C) ผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีระดับค่าคะแนน

                   ความชอบเฉลี่ยสูงสุดที่ผู้บริโภคให้ ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่ค่าเป้าหมายจะถูกก าหนดจากผลิตภัณฑ์เป้าหมายเพื่อการ
                   พัฒนา  คือ ผลิตภัณฑ์  B  เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบสูงสุดในแต่ละปัจจัยกับผลิตภัณฑ์นี้
                   แสดงถึงผลิตภัณฑ์คู่แข่งนี้มีลักษณะเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ต้นแบบจึงควรได้รับการปรับปรุง
                   และพัฒนาปัจจัยนั้นที่ด้อยกว่าให้เทียบเท่าหรือดีกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่งนี้ต่อไป
                          ส่วนปัจจัยของผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีค่าคะแนนความชอบเฉลี่ยของผู้บริโภคมากกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่ง คือ

                   ปัจจัยด้านราคา  และปริมาณโปรตีน แสดงว่าปัจจัยทั้ง  2  ของผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีลักษณะที่เด่นกว่าผลิตภัณฑ์
                   คู่แข่งแล้ว ดังนั้นอาจไม่จ าเป็นต้องพิจารณาปรับปรุงหรือพัฒนาปัจจัยทั้ง  2  นี้อีก หรือในอนาคตอาจพิจารณา
                   พัฒนาและปรับปรุงปัจจัยทั้ง  2 นี้ให้ดียิ่งขึ้นตามข้อจ ากัดที่มีต่อไปได้ ส่วนปัจจัยที่จะพิจารณาพัฒนาต่อไป ได้แก่
                   ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ให้ความรู้สึกอิ่มนาน ความง่ายในการชง และอายุผลิตภัณฑ์  ซึ่งถ้าฝ่ายพัฒนาเชิงเทคนิค
                   อาจเห็นควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปัจจัยนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคต่อไป  เช่น พิจารณาการ
                   เพิ่มคุณสมบัติความง่ายในการชงของเครื่องดื่มธัญญาหารส าเร็จรูป และเพิ่มคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ให้

                   ความรู้สึกอิ่มนานหลังบริโภค ซึ่งมีความเป็นไปได้ในด้านเทคโนโลยีที่ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อาจพัฒนาเชิง
                   นวัตกรรมเสริมประเด็นการพัฒนาด้านดังกล่าวเข้าไปได้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับ
                   ผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้นและท าให้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีลักษณะที่เด่นกว่าคู่แข่งมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวมีผล
                   ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยเช่นกัน  จากส่วนหลังค่าความสัมพันธ์ระหว่าง
                   ข้อก าหนดทางเทคนิคท าให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของข้อก าหนดแต่ละรายการ และข้อจ ากัดในการพัฒนา

                   ผลิตภัณฑ์ ซึ่งทีมพัฒนาจะต้องใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่าข้อก าหนดทางเทคนิคใดมีความส าคัญหรือส่งผลต่อคุณภาพ
                   ของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคได้มากที่สุด   ทีมพัฒนาก็ควรพิจารณาให้ความส าคัญต่อ
                   ข้อก าหนดทางเทคนิคนั้นก่อนหรือพิจารณาจากข้อจ ากัดทางด้านอื่นๆ และต้องร่วมหาทางปรับปรุงแก้ไข   ทีม
                   พัฒนาควรควบคุมตามค่าเป้าหมายและทิศทางเป้าหมายของข้อก าหนดทางเทคนิค ซึ่งค่าเป้าหมายและทิศทางค่า
                   เป้าหมายดังแสดงในตารางที่ 3















                                                ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142