Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ศูนย์กลางการฝึกอบรม นักวิชาการจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย เกือบทุกประเทศผ่านการฝึกอบรมที่ไร่สุวรรณแทบ
ทั้งสิ้น นับว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้น
ความส าเร็จของความร่วมมือพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด
ในช่วงเริ่มต้นของโครงการวิจัยแม่บท มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้ให้ Dr. Charles L. Moore และ
Dr. Surinder K. Vasal ช่วยโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด งานส าคัญเริ่มแรก คือการพัฒนาประชากรข้าวโพดที่มี
ฐานทางพันธุกรรมกว้าง โดยน าพันธุ์ข้าวโพดที่ได้รับจาก CIMMYT ที่มีฐานทางพันธุกรรมแตกต่างกันมาก จ านวน
36 พันธุ์ มาด าเนินการผสมพันธุ์แบบพบกันหมด ดังแผนผังที่แสดงไว้ใน ภาพที่ 1 เพื่อให้พันธุ์ทั้งหมดกลมกลืนเป็น
พันธุ์เดียวกันตามวิธีการพัฒนาพันธุ์สังเคราะห์นั่นเอง หลังจากด าเนินการได้ 3 ฤดูปลูกและพบว่าพันธุ์มีความ
กลมกลืนกันพอควรแล้ว ได้ตั้งชื่อพันธุ์ว่า Thai Composite # 1
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 พันธุ์สังเคราะห์ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น โดยให้มีความสม่ าเสมอ
มากขึ้น มีผลผลิตดีขึ้น และมีลักษณะอื่นๆ ดีขึ้นด้วย ในช่วงนี้ ดร.สุจินต์ได้กลับมาจากCIMMYT เม็กซิโกแล้ว และ
ท าหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการปรับปรุงพันธุ์ต่อเหมือนเดิม การพัฒนาพันธุ์สังเคราะห์นี้ น าไปสู่การได้พันธุ์ใหม่ คือ
“สุวรรณ 1” ซึ่งได้ตีพิมพ์ในเอกสารของ CIMMYT และของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ 2536
และ Sriwatanapongse, S., S. Jinahyon and S. K. Vasal, 1993)
พันธุ์สุวรรณ 1 เป็นข้าวโพดพันธุ์เดียวในประเทศที่ผ่านการรับรองพันธุ์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างเป็นทางการใน ปี พ.ศ. 2517 คณะกรรมการบริหารโครงการร่วมของกระทรวงเกษตรฯและของมหาวิทยาลัย
ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย
1. Dr. Del G. Smeltzer มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เป็นประธาน
2. นายอ าพล เสนาณรงค์ กรมวิชาการเกษตร เป็นอนุกรรมการ
3. นายสุจินต์ จินายน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นอนุกรรมการ
4. นายกลม สมบัติศิริ กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นอนุกรรมการ
5. นายสุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ
อนุกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่หาข้อมูลลักษณะดีเด่นของข้าวโพดพันธุ์ใหม่ จากการทดสอบระดับแปลง
ทดลองและไร่เกษตรกร ในระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งข้อมูลการทดสอบในต่างประเทศด้วย จากนั้น
น าเสนอคณะกรรมการบริหารโครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติพิจารณา และอนุมัติ รวมทั้งการใช้ชื่อ
“สุวรรณ 1” อีกด้วย
ความส าเร็จของการพัฒนาพันธุ์สุวรรณ 1 เกิดขึ้นจากการสนับสนุนเกื้อกูลหลายด้าน ที่ส าคัญคือความ
ทุ่มเทการท างานของหัวหน้าโครงการ คือ ดร.สุจินต์ จินายน และผู้ช่วยงานคือ นายวีรศักดิ์ ดวงจันทร์ นายธวัชชัย
ประศาสน์ศรีสุภาพ นายสรรเสริญ จ าปาทอง นางสาวยุพาบรรณ จุฑาทอง และอีกหลายท่านที่มิได้ระบุนามไว้
นอกจากนั้น ยังมีทีมงานโรคพืช น าโดย อาจารย์อุดม ภู่พิพัฒน์ และผู้ช่วย คือ นายวันชัย ก่อประดิษฐ์สกุล และ
15