Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว











                                                                             ภาพที่ 3.3 แสดงสุกรที่เลี้ยงด้วยข้าวโพด
                                                                             คุณภาพโปรตีนสูง (ซ้าย) เติบโตดีกว่าสุกรที่
                                                                             ขุนด้วยข้าวโพดธรรมดา (ขวา)







               พันธุ์ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์แต่ละอย่าง มีลักษณะไม่เหมือนกัน พวกปลูกเพื่อใช้เมล็ดต้องใช้พันธุ์ที่มี

               ผลผลิตของเมล็ดสูง แต่พวกที่ปลูกเพื่อตัดต้นสดไปหมัก หรือให้สัตว์กินโดยตรงมักจะใช้พันธุ์ที่มีล าต้นสูงหรือพันธุ์ที่
               มีการแตกกอมาก เพื่อจะได้ปริมาณต้นและใบมาก ส่วนข้าวโพดฝักอ่อนนั้นนิยมใช้พันธุ์ที่มีหลายฝักต่อต้น เช่น

               ข้าวโพดหวาน เป็นต้น

               ประเภทของพันธุ์ข้าวโพด

                      ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ทั่วไป อาจจ าแนกพันธุ์ได้เป็น 2 พวกใหญ่ คือ

                      1. พันธุ์ผสมปล่อย (Open  –pollinated  variety) พันธุ์ข้าวโพดชนิดนี้ หากได้รับการปรับปรุงพันธุ์

               อย่างดี ก็อาจให้ผลผลิตได้ไม่แพ้พันธุ์ลูกผสม นอกจากนั้น พันธุ์พวกนี้ยังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่าง
               กว้างขวาง แม้ดินฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปรไป ก็ยังให้ผลผลิตพอใช้ได้ นอกจากนั้น ชาวไร่ยังสามารถเก็บเมล็ดไว้ท า

               พันธุ์ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 2-3 ปี หรือถ้ารู้จักคัดเลือกพันธุ์เอง อาจไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่อีกก็เป็นได้ พันธุ์

               ข้าวโพดพวกนี้อาจแยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                              1.1 พันธุ์ผสมรวม (Composite) เป็นการรวมพันธุ์หรือสายพันธุ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน วิธีรวมง่ายๆ

               ก็โดยเอาเมล็ดจ านวนเท่ากันจากแต่ละพันธุ์ หรือสายพันธุ์มารวมกันเข้า แล้วน าไปปลูกในแปลงอิสระห่างไกลจาก
               ข้าวโพดพันธุ์อื่นๆ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดไว้ปลูกเป็นพันธุ์ต่อไป

                              1.2 พันธุ์สังเคราะห์ (Synthetics) เป็นพันธุ์ที่ได้จากการรวมสายพันธุ์ที่ได้รับการทดสอบการ

               รวมตัว (Combining ability) มาแล้ว วิธีการรวมสายพันธุ์อาจท าได้เช่นเดียวกับพันธุ์ผสมรวม

                      2. พันธุ์ลูกผสม (Hybrids) พันธุ์ลูกผสมนิยมปลูกในประเทศที่วิทยาการการเกษตรเจริญมากแล้ว ทั้งนี้

               เนื่องจากข้าวโพดพวกนี้มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ดีหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ได้ใส่ปุ๋ย
               เพียงพอ ไม่ก าจัดวัชพืช มีน้ าไม่พอ ข้าวโพดพวกนี้จะให้ผลผลิตไม่ดี นอกจากนั้น การใช้ข้าวโพดลูกผสมจะต้องซื้อ

               เมล็ดใหม่มาปลูกทุกปี เพราะถ้าใช้เมล็ดเก่าเก็บจากไร่จะกลายพันธุ์ไป ข้าวโพดลูกผสมอาจเป็นพวกลูกผสมเดี่ยว
               (Single cross) ลูกผสมคู่ (Double cross) หรือลูกผสมสามทาง (Three-way cross) ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่จ านวนสาย

               พันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นลูกผสมเดี่ยวก็มีสายพันธุ์ 2 สายพันธุ์ [(สายพันธุ์ ก x สายพันธุ์ ข)] ลูกผสมคู่มี 4 สายพันธุ์




                                                                                                           20
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26