Page 25 -
P. 25
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ช่อดอกตัวเมียซึ่งจะพัฒนาเป็นฝัก (ear) นั้นอยู่ประมาณส่วนกลางของล าต้น อาจมี 1 ฝักหรือมากกว่าก็ได้
ฝักประกอบด้วยก้านฝัก และกาบหุ้มฝัก (husk) ที่ห่อหุ้มช่อดอกแบบspike อยู่ช่อดอกมีดอกย่อยที่เรียกว่า
spikelet เกิดเป็นคู่เรียงเป็นแถวอยู่บนแกนซัง (cob) ของฝัก ดอกย่อยแต่ละอันจะมีfloret 2 อันแต่มีเพียงอัน
เดียวที่รับการผสมเกสรได้ ในfloretแต่ละอันมีรังไข่ (overy) อยู่ภายในและมีก้านเกสรตัวเมีย (style) ยื่นยาว
ออกมาเพื่อรองรับละอองเกสรเรียกว่าเส้นไหม (silk) ไหมบริเวณโคนฝักเกิดก่อนไหมในส่วนอื่น แต่ไหมบริเวณ
กลางฝักจะโผล่พ้นกาบหุ้มฝักก่อน ดังนั้น จึงได้รับการผสมเกสรและติดเมล็ดก่อน ข้าวโพดแต่ละฝักจะมีเมล็ด
ประมาณ 400 – 1000 เมล็ด
ต้นข้าวโพดมีระบบรากเป็นแบบรากฝอย (fibrous adventitious root system) รากที่งอกจากเมล็ดครั้ง
แรกมี 2 -3 แขนง เป็นพวกรากชั่วคราวหรือ primary root เมื่อเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่งแล้วจึงพัฒนาเป็นถาวร
(adventitious root) ประกอบด้วยรากฝอย (firous root) จ านวนมาก เมื่อเติบโตมากขึ้นเข้าสู่ระยะใกล้ช่วงออก
ดอกจึงมีรากเกิดขึ้นบริเวณใกล้ผิวดินที่เรียกว่ารากอากาศ (brace root หรือ aerial root) เพื่อช่วยค้ าจุนล าต้น
และดูดรับอาหารบริเวณผิวดินได้
หลักการเลือกคัดต้นข้าวโพดที่มีลักษณะดี
ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด ขั้นตอนหนึ่งที่ส าคัญคือการเลือกคัดต้นที่ดี ส าหรับการผสมพันธุ์เพื่อการ
พัฒนาพันธุ์ใหม่ ประสบการณ์และความคุ้นเคยกับการเจริญเติบโตของข้าวโพด ท าให้สามารถชี้ทางได้ว่าควรเลือก
คัดเอาต้นที่มีลักษณะใดไว้ท าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีข้อควรน ามาพิจารณาดังต่อไปนี้
คัดเลือกต้นที่มีล าต้นตั้งตรง แข็งแรง และไม่สูงเกินไป (วัดจากระดับพื้นดินถึงปลายช่อดอกตัวผู้
ประมาณ 200-250 ซ.ม.)
มีระบบรากแข็งแรง ไม่หักล้มงาย อาจใช้วิธีโยกเบาๆ ก็ได้
มีใบเขียวสะอาด ไม่มีเชื้อโรค ใบตั้งเป็นมุมแคบกับล าต้น และมีสีเขียวสดยาวนาน จนถึงระยะที่
มีฝักติดเมล็ดแก่ ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า ลักษณะเขียวคงทน ( stay green)
ช่อดอกตัวผู้ ไม่ใหญ่และเล็กเกินไป ควรคัดเลือกต้นที่อับเกสร (anther) บานร้อยละ50และ
ปลดปล่อยละอองเกสรได้ดี ขณะเดียวกันดอกตัวเมีย(ear)ของต้นนั้นมีเส้นไหม(silk)โผล่พ้น
เปลือกหุ้มฝักมากพอส าหรับการผสมเกสร การผสมเกสรจะสมบูรณ์และติดเมล็ดมากน้อยขึ้นอยู่
กับระยะห่างระหว่างเวลาที่ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบานพร้อมที่ผสมเกสรได้ ระยะเวลาแตกต่าง
ดังกล่าวเรียกว่า anthesis-silk interval (ASI) ต้นที่ดี ควรมี เอเอสไอแคบ และยิ่งแคบหรือ
ต่างกันน้อยยิ่งดี
ลักษณะการติดเมล็ดที่ดี นับเป็นผลจากความสมบูรณ์ของการผสมเกสร ฝักที่ดีควรมีเมล็ดเต็มจาก
โคนถึงปลายฝัก มีแกนซัง (cob) เล็ก ซึ่งจะท าให้เมล็ดยาว นอกจากนั้น ควรเลือกฝักที่ไม่มีเมล็ด
เน่า เสียเนื่องจากเป็นโรคหรือแมลงเจาะกิน
24